Mar
22
2016
0

150 วัน ชีวิตในนางาซากิ

890 views

JCTeam@yrservice มีนัดคุยกับ 3 นักศึกษาสาว โครงการแลกเปลี่ยนระหว่างคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชนกับมหาวิทยาลัยนางาซากิ ที่กลับถึงเมืองไทย เมื่อช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา คิดเป็นเวลารวมเกือบ 5 เดือน หรือ 150 วันในนางาซากิ จึงเป็นโอกาสอันดีที่จะได้แนะนำให้เพื่อนๆ น้องๆ รุ่นต่อไป ที่สนใจเข้าร่วมโครงการได้เตรียมตัวและเตรียมใจกับการผจญภัยต่างแดน

jc-stdexchange-nagasagi

1.
“คือ จริงๆ หนูพูดภาษาญี่ปุ่นไม่ได้เลยค่ะ” (หัวเราะ) บทสนทนาแรกทำไมถึงสนใจเข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยน ณ มหาวิทยาลัยนางาซากิ ประเทศญี่ปุ่นของ น้องหุ้น สุชาวดี
แต่หนูคิดว่าประเทศญี่ปุ่น เป็นประเทศที่มีวัฒนธรรมคล้ายๆ กันกับไทย และเป็นประเทศในแถบเอเชียเหมือนกัน มีความปลอดภัย ทุกคนให้การต้อนรับอย่างดีต่อชาวต่างชาติ
เช่นเดียวกับปิ๊ง อิชญา และอิ๋ง ธนพร กล่าวว่า “พวกเราไปแบบมีภาษาญี่ปุ่นพื้นฐานพอติดตัว แต่ถึงขั้นให้พูดแบบจริงๆ จัง ก็คงไม่ได้” ส่วนสาเหตุที่พวกเราเลือกไปญี่ปุ่นอีกอย่างหนึ่งคือ “หนูชอบตรงระบบการศึกษาของญี่ปุ่นที่เป็นระบบ ทุกอย่างเป็นระบบทั้งการใช้ชีวิตของคนในสังคม และสภาพสังคม” น้องอิ๋งกล่าว

2.
ประทับใจแรก ณ นางาซากิ
“สำหรับหนู แน่นอนเลยค่ะ ตื่นเต้นมาก มีตัวแทนจากนางาซากิมารอต้อนรับด้วย ต้องนั่งรถต่อจากฟุกุโอกะไปนางาซากิ หนูได้เห็นถึงความเจริญและความเป็นมิตรของคนญี่ปุ่นที่นี่ เรียกได้ว่าใส่ใจในทุกรายละเอียด…” น้องหุ้นและปิ๋งกล่าวพร้อมกัน
“แต่หนูอยากเสริมนิดนึงค่ะว่า นอกจากที่นี่ผู้คนเป็นมิตรแล้ว บ้านเมืองที่นี่อย่างเป็นระบบและระเบียบมาก” น้องอิ๋งกล่าวเสริม

3.
เรียนอะไร ? ที่นางาซากิ
น้องหุ้น ปิ๊ง อิ๋ง กล่าวว่า “พวกเรานอกจากเรียนภาษาญี่ปุ่นพื้นฐาน 2 ตัวแล้ว ยังได้เรียนวิชา Comparative Culture คล้ายๆ กับวิชาการเปรียบเทียบวัฒนธรรมกันระหว่างญี่ปุ่นกับสังคมอื่นๆ ผ่านภาพยนตร์หรือโฆษณา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในสาขาวิชา Cross Culture Communication (การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม) ที่ทุกคนสามารถนำความรู้ติดตัวมาใช้ได้ แม้จะไม่มีพื้นฐานภาษาญี่ปุ่นก็ตาม”
“เนื้อหาวิชาส่วนใหญ่จะเป็นการเปรียบเทียบวัฒนธรรมญี่ปุ่นกับสังคมประเทศอื่นๆ เช่น การเปรียบเทียบโฆษณาระหว่างตะวันตกและตะวันออก ทั้งเพลง,ภาพยนตร์ อาจารย์จะมีหัวข้อใหม่ๆ มาให้เราแลกเปลี่ยนและคิดอยู่ตลอดเวลา”น้องหุ้นกล่าวเพิ่มเติม
“แต่ที่ได้แน่ๆ คือภาษาญี่ปุ่น (ยิ้ม) ทั้งสามคน

4.
มารยาททางสังคมในนางาซากิ กับวัฒนธรรมการทิ้งขยะ
สำหรับหนู หนูคิดว่า “ต้องกล้าเปิดรับสิ่งใหม่ๆ รู้จักกาลเทศะ ตัวอย่างเช่น การใช้รถประจำทางสาธารณะทุกคนจะรู้ว่าอะไรควรทำไม่ควรทำต้องมีมารยาทไม่ส่งเสียงดัง ทุกอย่างเงียบมาก ที่นั่นจะไม่ลุกคนแก่นั่งถือเป็นการเสียมารยาทมากเพราะยังถือว่าแข็งแรงอยู่” ปิ๊งกล่าว
หนูอยากฝากอีกเรื่องหนึ่งค่ะ (ยิ้ม) “ที่ญี่ปุ่นแทบจะเป็นวิถีชีวิตของคนที่นี่ไปแล้ว คือคนญี่ปุ่นให้ความจริงจังและใส่ใจกับการทิ้งขยะมาก แยกขยะก่อนทิ้งเป็นอย่างมาก คนที่นั้นจะรับรู้ว่าต้องทิ้งขยะวันไหนแล้วต้องไปทิ้งเองยังจุดรวมที่ทางการจัดไว้ให้ มีลักษณะแบ่งตามสี ในแต่ละวัน ทั้งขยะแบบรีไซเคิลได้ รีไซเคิลไม่ได้” หุ้นกล่าว
“ใช่ค่ะ คนที่นั่นมีจิตสำนึกสูงมาก (เสียงสูง) จะไม่ทิ้งขยะตามพื้นข้างทาง หนูตั้งข้อสังเกตอีกอย่างหนึ่งว่าที่เมืองไทยมีถังขยะเยอะมากแต่ก็ยังทิ้งไม่ลงที่ทิ้ง และไม่มีการแยกขยะ” อิ๋งกล่าวเสริม

5.
เป็นนักศึกษาแลกเปลี่ยนเข้าเมืองตาหลิ่วต้องหลิ่วตาม – เปิดใจปรับตัวเองให้เข้ากับสังคม
“อยากฝากถึงผู้ที่เข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยน หรือคนที่จะไปศึกษาต่อต่างประเทศต้องเปิดใจยอมรับ และปรับตัวตัวเองให้พร้อมกับการเรียนรู้สภาพแวดล้อมสังคมของประเทศที่ตนไปอยู่ เรียนรู้กับความแตกต่าง พูดง่ายๆ ต้องเข้าเมืองตาหลิ่วต้องหลิ่วตาตาม แรกๆ ไปแน่นอนทุกอย่างแตกต่างหมด ทั้งการเรียนและสังคม พวกเราอยู่ที่ญี่ปุ่นสังเกตได้ชัดว่า คนญี่ปุ่นมีความขี้อายมาก แต่เวลาเรียนจะเป็นคนกระตือรือร้น กล้าพูด กล้าทำ กล้าแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในชั่วโมงเรียน” อิ๋งกล่าว
สำหรับหนูมองว่า “คนญี่ปุ่นจะมีบุคลิกลักษณะอีกอย่างหนึ่งคือให้ความสนใจในเรื่องศิลปวัฒนธรรมเป็นอย่างมาก หรือชอบเรื่องราวที่เป็นความรู้ ซึ่งอาจารย์ที่นั่นอาจเล็งเห็นอะไรบางอย่าง (หัวเราะ) พวกเราเลยได้มีโอกาสแสดงศิลปวัฒนธรรมไทยบ้างในงาน Japan Culture Festival ซึ่งได้รับเสียงตอบรับและให้ความสนใจเป็นอย่างมากจากนักศึกษาที่นั่น” หุ้นกล่าวเสริม

6.
อยู่ญี่ปุ่นเรื่องเรียน เป็นเรื่องสำคัญ ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ
“การใช้ชีวิตของพวกเราในแต่ละวัน จะเรียนวันจันทร์ – ศุกร์ ตามตางรางที่ได้รับมาเลยค่ะ ตั้งแต่ 9 โมงเช้าถึง 6 โมงเย็น .แต่ส่วนใหญ่จะเรียนถึงแค่ 5 โมงเย็น มีตารางเวลาสำหรับรถโดยสารประจำทาง ตกเย็นมาก็มีเวลาอ่านหนังสือทบทวนซึ่งสำคัญมาก เพราะที่ญี่ปุ่นจะต้องทบทวนและเตรียมพร้อมก่อนเข้าเรียนทุกครั้ง และให้ความจริงจังมาก ส่วนการใช้ชีวิตประจำวันแทบไม่ได้ปรับตัวอะไรมาก ตอนเย็นยังมีเวลาทำกับข้าวด้วยกันค่ะ” หุ้นกล่าวโดยสรุป

7.
อยากเป็นนักศึกษาแลกเปลี่ยนต้องกล้า – ต้องเปิดใจ และอดทนมากๆ
“โดยส่วนตัวคณะวารสารศาสตร์ฯ มีโครงการแลกเปลี่ยนดีๆ แบบนี้เยอะมาก (หัวเราะ) สำหรับผู้ที่จะไปต้องเปิดใจเรียนรู้วัฒนธรรมในแต่ละประเทศเป็นสิ่งสำคัญ มีความอดทนอาจเจอกับสิ่งที่เราไม่ชอบหรือเราไม่ได้คาดหวังไว้” หุ้นกล่าว
“ส่วนหนูคิดว่าเมื่อมีโอกาสควรไปลองค่ะ สำหรับหนูคิดว่าคุ้มค่ามากกับการเสี่ยง และตัดสินใจร่วมโครงการแลกเปลี่ยน” ปิ๊งกล่าว
สำหรับหนูคิดว่า “โอกาสได้ไปต่างประเทศไม่ได้มีง่ายๆ ใช้ชีวิตกับคนรุ่นราวคราวเดียวกันไม่ได้มีโอกาสง่ายๆ แบบนี้ ไม่ใช่ว่าเสียเงินแล้วไปได้ทันที แลกกับประสบการณ์ดีๆ ความทรงจำดีๆ ถือว่าคุ้มมากค่ะ”อิ๋งกล่าวทิ้งท้าย”
//////////////////////////////////////////////////////////////////////

ที่มา: https://www.facebook.com/JCTeam.yrservice/posts/987883027952714:0

Written by Anchulee.Vis in: Interview,วิเทศสัมพันธ์ |
Aug
04
2015
0

เปิดเลนส์มองภาพฉลอง 100 ปี ชาตกาล “อาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์”

1,313 views

100years-puay

 

 

เปิดเลนส์มองภาพฉลอง 100 ปี ชาตกาล
“อาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์”

เนื่องในโอกาสครบรอบ 100 ปี ชาตกาล อาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ สมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ร่วมกับคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน ผลิตวิดีทัศน์ “ชีวิตอาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์” เผยแพร่ออกสู่สาธารณชนสะท้อนชีวิตและงานอาจารย์ป๋วย ผ่านการสัมภาษณ์ลูกศิษย์และบุคคลที่เกี่ยวข้องกับอาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์

ณัฐดนัย นาคสุวรรณ นักศึกษาคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน ชั้นปีที่ 4 ในฐานะโปรดิวเซอร์กล่าว ว่า “ที่มาของการผลิตวิดีทัศน์ในครั้งนี้คือ ทาง UNESCO กำลังจะแต่งตั้ง อาจารย์ป๋วย เป็นหนึ่งในบุคคลสำคัญของโลก และตรงกับโอกาสงานสู่ 100 ปีชาตกาล ป๋วย อึ๊งภากรณ์ เนื้อหาในวิดีทัศน์นี้จะนำเสนอในมุมต่างๆ ของอาจารย์ป๋วย ที่คนทั่วไปมักไม่ค่อยจะได้รับรู้หรือรับทราบกันถึงคุณประโยชน์ที่ท่านได้ทำไว้ให้กับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รวมไปถึงแวดวงวิชาการเศรษฐศาสตร์ การเมือง การศึกษาและประเทศไทยของเรา

-เล่าชีวิต อ.ป๋วย ผ่านลูกศิษย์คนดัง-
“ทีมงานของพวกเราอยากเล่าเรื่องของอาจารย์ป๋วย ผ่านรูปแบบการสัมภาษณ์ลูกศิษย์ หรือบุคคลใกล้ชิดที่คุ้นเคยกับอาจารย์ป๋วย เรียกได้ว่าผ่านยุคผ่านสมัยมาพร้อมๆ กับท่าน อาทิ คุณวรากรณ์ สามโกเศศ, คุณอรัญ ธรรมโน,คุณวิทยากร เชียงกูล เป็นต้น ซึ่งเมื่อได้พูดคุยกับลูกศิษย์เหล่านี้แล้ว ทำให้ได้ทราบถึงเรื่องราวที่ไม่เคยทราบมาก่อน เพราะไม่ได้มีการเขียนหรือบันทึกไว้ เช่น มุมมองในวิชาเศรษฐศาสตร์ การเมือง การศึกษาและสังคมที่เป็นประโยชน์” ณัฐดนัยกล่าว

-คุณงามความดี อ.ป๋วย เล่าอีกกี่ที่ก็ไม่มีวันหมด
เมื่อพูดถึงอาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ในมุมมองของนักศึกษาคณะวารสารศาสตร์ฯ มีความคิดเห็นอย่างไรบ้าง? “สำหรับผมคิดว่าอาจารย์ป๋วย เป็นอาจารย์ที่มีประวัติและเรื่องราวเกี่ยวกับตัวเองเยอะมากๆ ครับ สมัยผมเข้ามาเรียนมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ใหม่ๆ รู้จักแต่ชื่อเท่านั้น ยังไม่ได้ซึมซับอะไรมาก และไม่มีโอกาสได้รู้จักเข้าไปถึงสิ่งที่ท่านได้ทำไว้ให้พวกเราเลย แต่ผมเริ่มซึมซับทั้งในชีวิตการทำงาน ชีวิตส่วนตัว และแนวคิดของอาจารย์ป๋วยเรื่อยๆ ครับ ทั้งจากคนอื่นๆ เล่าให้ฟังบ้าง หรืออ่านในบทความต่างๆ บ้าง โดยส่วนตัวผมคิดว่าอาจารย์ป๋วย มีคุณูปการไม่ใช่แค่ในระดับมหาลัยเท่านั้น แต่อาจารย์ป๋วย ยังมีผลงานที่เรียกได้ว่าในระดับชาติอยู่อีกมากมายที่พวกเราหลายๆ คนไม่ทราบดี จนถึงทุกวันนี้ก็ยังได้ยินเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับอาจารย์ป๋วยอยู่ครับ ซึ่งผมคิดว่าเมื่อผมแก่ตัวลงก็ยังรับรู้คุณความดีของอาจารย์ป๋วย ไม่หมด” ณัฐดนัยกล่าวทิ้งท้าย

-วางแผนเปิดเลนส์ นศ.วารสารฯ พร้อมถ่ายทอดผลงานเพื่อ อ.ป๋วย-
เมื่อถามถึงการวางแผนในการถ่ายทำครั้งนี้เป็นอย่างไรบ้าง ? “สำหรับทีมงานถ่ายทำในครั้งนี้ ก่อนอื่นต้องบอกเลยว่าเราเริ่มการถ่ายทำในช่วงสอบปลายภาคพอดี ทำให้หลายๆ อย่างฉุกละหุก แต่ก็ชักชวนเพื่อนๆ ที่พร้อมและตั้งใจจริงๆ โดยแบ่งหน้าที่ตามความรับผิดชอบประกอบด้วยนักศึกษาสาขาวิทยุและโทรทัศน์ ปี3 พิมพ์พจี เย็นอุรา ทำหน้าที่เขียนบท, วีรภัทร เต็มบัณฑิต ทำหน้าที่ตัดต่อ และมีเพื่อนในสาขาภาพยนตร์ฯ ปี 4 อีก 2 คนรับหน้าที่ถ่ายภาพประกอบด้วยบุณยนุช บุณยรัตพันธ์ และเฉลิมชนม์ เนติพัฒน์ โดยมีน้องศุภณัฐ เตชะอำไพ ปี 3 B.J.M.รับหน้าที่ประสานงานและวางแผนนัดหมายกับสมาคมศิษย์เก่าธรรมศาสตร์ ส่วนผมทำหน้าที่โปรดิวเซอร์ ซึ่งพวกผมเชื่อว่าถ้าเราร่วมกันทำงานเพื่อใครสักคน สิ่งที่ออกมามันจะบริสุทธิ์มากๆ ครับ ที่สำคัญพวกเราทุกคนตั้งใจทำเพื่อเชิดชูเกียรติอาจารย์ป๋วย และอยากแบ่งปันให้คนในสังคม และประชาคมธรรมศาสตร์ได้ทราบถึงเรื่องราวและคุณความดีของอาจารย์ป๋วย ให้มากขึ้นครับ


ขอขอบคุณ
อาจารย์ญาณิศา บุญประสิทธิ์ (อาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ)

Written by Anchulee.Vis in: Interview |

Faculty of Journalism and Mass Communication, Thammasat University | email: jc.thammasat@gmail.com
StartCounter@15052010

  • Twitter
  • Facebook
  • YouTube