โครงการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ “นวัตกรรมกับการเรียนการสอนด้านการสื่อสาร”

Posted by: | Posted on: August 23, 2017

6 มิถุนายน 2560 – คณะกรรมการจัดการความรู้ คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน จัดโครงการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และประสบการณ์ของอาจารย์ภายในคณะฯ หัวข้อ “การใช้นวัตกรรมกับการเรียนการสอนด้านการสื่อสาร” ณ ห้องเกษม ศิริสัมพันธ์ คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต  เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์นวัตกรรมกับการเรียนการสอนด้านการสื่อสาร ของคณาจารย์ประจำคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน และเพื่อให้เกิดแนวคิดสำหรับการนำไปปรับใช้และการพัฒนาการเรียนการสอนโดยการนำรูปแบบนวัตกรรมที่ได้ไปปรับใช้เพื่อให้การสอนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ถอดบทเรียนการใช้นวัตกรรมกับการเรียนการสอนด้านการสื่อสาร

นวัตกรรมการศึกษา มีความหมายรวมไปถึงวิธีการสร้างสรรค์การสอนรูปแบบสื่อการสอนใหม่ๆ ที่แก้ปัญหาการเรียนการสอนแบบเดิมซึ่งอาจแตกต่างกันไปในแต่ละสาขาวิชา ไม่ได้เฉพาะเจาะจงแค่ E-learning หรือในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีเท่านั้น

ผู้เข้าร่วมการเสวนา ร่วมแลกเปลี่ยนผ่านการกรณีศึกษา เช่น หากต้องสอนแบบจำลองการสื่อสาร S – M – C – R สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 และมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดความเข้าใจมากกว่าท่องจำ ผู้เข้าร่วมการเสวนาแลกเปลี่ยนว่าสามารถทำได้หลายรูปแบบ เพิ่มเติมจากการบรรยาย ซึ่งผู้เรียนอาจจะมีประสบการณ์ร่วมกับผู้สอนได้น้อย เช่น เสริมการใช้วิดีโอเพื่อให้เห็นตัวอย่าง หรือสร้างความเข้าใจผ่านการเรียนรู้โดยการจำลองสถานการณ์หรือบทบาทสมมติ (Role play) ซึ่งการออกแบบการเรียนการสอนลักษณะดังกล่าวถือว่าเป็นนวัตกรรมได้ ไม่จำกัดแค่การใช้เทคโนโลยีเท่านั้น นวัตกรรมมีความหมายครอบคลุมไปถึงการสร้างสรรค์รูปแบบการเรียนการสอนเพื่อไปให้ถึงวัตถุประสงค์ในรูปแบบใหม่ๆที่สามารถแก้ไขปัญหาเดิมได้ โดยนวัตกรรมจะสมบูรณ์เมื่อมีการทดลอง ทำซ้ำ และเกิดแบบแผนที่จะนำไปใช้ต่อ

หัวใจอีกประการหนึ่งของการสร้างสรรค์นวัตกรรมการเรียนการสอน ผู้สอนยังควรทำความรู้จักกับผู้เรียนให้ลึกซึ้งไม่เพียงแต่รู้จักว่าผู้เรียนคือใคร หรือเป็นนักศึกษาชั้นปีใดเท่านั้น แต่ต้องพยายามทำความรู้จักต้นทุนของผู้เรียนทั้งก่อนเรียน พฤติกรรมการใช้สื่อ ความสนใจ รวมถึงทัศนคติที่มีต่อเนื้อหาวิชาและผู้สอน ซึ่งการรู้จักผู้เรียนมีความจำเป็นกับการออกแบบการเรียนการสอนที่ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง การรู้จักผู้เรียนจะทำให้ผู้สอนสามารถออกแบบรูปแบบการเรียนการสอนให้เหมาะกับศักยภาพกับผู้เรียนได้  กระบวนการทำให้ผู้เรียนเปิดใจ เป็นหนึ่งในกระบวนการที่สำคัญ นอกจากนี้ในระหว่างการเรียนการสอนผู้สอนควรมีการสังเกตพฤติกรรมผู้เรียน ทักษะและระดับการเรียนรู้ เพื่อปรับรูปแบบการเรียนการสอน การมอบหมายงาน และการประเมินงานให้มีความเหมาะสม [Read More …]

Comments

comments





  • Facebook
  • Twitter
  • YouTube