Oct
03
2014
0

ปัทมา สุวรรณภักดี: พฤติกรรมประชาชนมีผลต่อการรับชมภาพยนตร์สารคดีไทย

1,372 views

pattamas

 

การผลิตภาพยนตร์สารคดีเรื่องหนึ่ง นอกจากความลงตัวในเรื่องการนำเสนอและความคิดสร้างสรรค์แล้ว พฤติกรรมการรับชมของคนดูนับว่ามีส่วนสำคัญที่จะทำให้ภาพยนตร์เรื่องนั้นประสบความสำเร็จ ทั้งเรื่องรายได้ และสาระความรู้ที่บางครั้ง หลายๆ คนมองข้ามไป…
พบกับสัมภาษณ์พิเศษ ผศ.ปัทมา สุวรรณภักดี อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาพยนตร์และภาพถ่าย คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน ในงานวิจัยที่จะตอบโจทย์ ทั้งผู้สร้างภาพยนตร์สารคดี และคนที่(อยาก)ดูภาพยนตร์สารคดี

“พฤติกรรมประชาชนมีผลต่อการรับชมภาพยนตร์สารคดีไทย”

ผศ.ปัทมา สุวรรณภักดี อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาพยนตร์และภาพถ่าย คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน เปิดเผยถึงงานวิจัยเรื่อง “พฤติกรรมการเปิดรับสื่อและความคาดหวังของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครที่มีต่อภาพยนตร์สารคดีไทย” ว่า ในบางประเทศมีตัวอย่างการทำภาพยนตร์สารคดีที่สามารถลดความขัดแย้งในสังคม และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของมนุษย์ได้

ตัวอย่าง เช่น เรื่อง Drifters ของประเทศอังกฤษ ที่เป็นเรื่องราวของยุคที่มีการใช้เครื่องจักรกลทำให้คนกลัวตกงาน ภาพยนตร์เรื่องนี้เน้นการนำเสนอ ว่า ถึงแม้มีการใช้เครื่องจักรกลเพื่อให้คนยอมรับในกลไกลที่จะมาช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลง แต่คนยังสำคัญที่สุด อีกเรื่องคือ Super Size นำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับอาหาร fast food ที่ส่งผลกระทบต่อคนทำให้เป็นโรคต่างๆ ผู้สร้างเลยพิสูจน์ตัวเองด้วยการทานแฮมเบอร์เกอร์ 30 วัน วันละ 3 มื้อ ปรากฏว่าโรคต่างๆ รุมเร้า เพราะฉะนั้นภาพยนตร์สารคดีแนวนี้จึงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเรื่องโภชนาการ พฤติกรรมสุขภาพและอนามัย” ผศ.ปัทมา กล่าวถึงบทบาทภาพยนตร์สารคดีในต่างประเทศ

ผศ.ปัทมา กล่าวถึงการทำวิจัยเรื่อง “พฤติกรรมการเปิดรับสื่อและความคาดหวังของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครที่มีต่อภาพยนตร์ไทย” ในครั้งนี้มีความจุดมุ่งหมายสำคัญ คือ (Read More…)

Written by Anchulee.Vis in: Interview |
Sep
23
2014
0

My Job My Way : ชีวิตและงาน ปทุมมาศ เฟื่องการรบ

1,203 views

I did it my way.

(ฉันทำมันทั้งหมด…ในแบบของฉัน…)

ท่อนหนึ่งแห่งบทเพลง MY WAY ที่ร้องโดย Frank Sinatra

อาจใกล้เคียงกับความเป็นตัวตนของสุภาพสตรีคนหนึ่ง ที่หลายๆ คนในคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน ได้พบ ได้สัมผัส และคลุกคลี และเป็นเวลา 35 ปี ทั้งการเริ่มต้นชีวิตการทำงาน เป็นช่วงเวลาของการก่อร่างสร้างตัว และเป็นเดือนสุดท้ายของชีวิตการรับราชการของสุภาพสตรีที่ชื่อ ปทุมมาศ เฟื่องการรบ หรือพี่ตู่ หัวหน้างานเทคโนโลยีและโสตทัศนศึกษา

peetu58

YouTube Preview Image

คณะวารสารฯ กับจุดเริ่มต้นของการเรียน และชีวิตการทำงาน

“สัมภาษณ์แบบไหนดี จะเอารายละเอียดตั้งแต่วัยเด็กเลยไหม?
ถ้าเป็นจุดเริ่มต้นเลยนะ พี่เป็นคนชอบอ่านออกเสียง สมัยมัธยมต้น เวลาครูสอนจะชอบอ่านออกเสียงเลยทำให้การอ่านของพี่คล่อง อีกแรงบันดาลใจก็คือ เคยไปที่สนามบินดอนเมือง ได้ยินเสียงผู้ประกาศก็ชอบและอยากทำงานแบบนี้ อันนี้เป็นจุดเริ่มต้น” พี่ตู่ประเดิมคำสัมภาษณ์

  • แล้วการเลือกเรียนคณะวารสารฯ ล่ะครับ?

“คือ จริงๆ แล้วจุดเริ่มต้นที่เข้ามาเรียนคณะวารสารฯเป็นเพราะคณะนี้มีการเรียนการสอนในสิ่งที่เราชอบ นั่นคือการพูด การอ่านประกาศต่างๆ แรกๆ คิดแค่นั้น เพราะโดยส่วนตัวเป็นคนชอบอ่านออกเสียงมาตั้งแต่เรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ครูจะให้เป็นคนบอกงานเพื่อให้เพื่อนๆ จดเป็นประจำ ส่วนอีกแรงบันดาลใจที่ต้องมาเรียนทางด้านนี้ให้ได้ เพราะตอนไปสนามบินเผอิญได้ยินเสียงผู้ประกาศเพื่อเรียกผู้โดยสารขึ้นเครื่อง และแจ้งเรื่องเที่ยวบินต่างๆ พอฟังแล้วรู้สึกว่าเสียงเพราะมากเลยอยากทำแบบนี้บ้าง พอถึงช่วงเวลาสอบเอนทรานซ์เพื่อเข้ามหาวิทยาลัย เมื่อก่อนเขาเรียกกันแบบนี้นะ อยากจะเข้าคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ แต่ก็ยากเกินไป เพราะต้องสอบคณิตศาสตร์ด้วย รู้สึกว่าไม่ถนัดจริงๆ ถ้าสอบพวกภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส พี่ว่าพี่สู้ได้ สอบปีแรกเลือกอันดับสอบผิดพลาดเลยไปติดที่คณะอักษรฯ ม.ศิลปากร ก็เลยลองเรียนไปก่อน พอมาสอบอีกครั้งคราวนี้ไม่พลาด ได้เรียนคณะวารสารฯ สมความตั้งใจ ทั้งๆ ที่ในยุคนั้นไม่ค่อยมีใครสนใจ โชคดีอย่างคือไม่มีพ่อแม่มากดดัน พี่ตัดสินใจเองทุกอย่างด้วยตัวเอง

  •  ขอย้อนนิดนะครับ พื้นเพพี่ตู่ เป็นกรุงเทพฯ ใช่ไหมครับ กับบรรยากาศการเรียนการสอนที่คณะวารสารเป็นอย่างไรบ้างครับ?

“อ๋อ ใช่พี่เรียนกรุงเทพฯ เป็นคนกรุงเทพฯ มาเรียนที่ ร.ร.เขมะสิริอนุสรณ์ และ ร.ร.เตรียมอุดมศึกษา พญาไท ตอนนั้นบรรยากาศการเรียนเมื่อ 40 ปีที่แล้ว ไม่อบอุ่นเหมือนสมัยนี้ที่มีรุ่นพี่คอยดูแลแนะนำในทุกๆ เรื่อง สมัยนั้นต้องลุยด้วยตัวเองว่าจะลงทะเบียนอย่างไร เรียนห้องไหน ต้องพึ่งตัวเองทั้งนั้นเราเรียนแบบรวมๆ กันยังไม่ได้แยกสาขา เรียนทั้งประชาสัมพันธ์ โทรทัศน์ก็เรียน เรียนกับอาจารย์อรทัย ศรีสันติสุข อาจารย์วันชัย ธนะวังน้อย อาจารย์อรนุช เลิศจรรยารักษ์ รศ.เสรี วงษ์มณฑา พอดีเพิ่งกลับจากต่างประเทศใหม่ๆ ตอนปี 1 แล้วก็เคยเรียนกับอาจารย์หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ด้วยนะ”

  •  กับเหตุการณ์ 14 ต.ค.16 และ 6 ต.ค.กลิ่นอายของคณะวารสารฯ ในห้วงเวลานั้นเป็นอย่างไรครับ?

(Read More…)

Written by Anchulee.Vis in: Interview |

Faculty of Journalism and Mass Communication, Thammasat University | email: jc.thammasat@gmail.com
StartCounter@15052010

  • Twitter
  • Facebook
  • YouTube