Aug
04
2014
0

นิยามเด็กวารสารฯ 57 ในแบบฉบับ รศ.พรทิพย์ สัมปัตตะวนิช

1,576 views

นิยามเด็กวารสารฯ 57 ในแบบฉบับ รศ.พรทิพย์ สัมปัตตะวนิช

เริ่มต้นปีการศึกษาใหม่ การเปลี่ยนแปลงหลายๆ อย่างในชีวิตทั้งเพื่อนใหม่ สถานที่เรียนใหม่ จึงเป็นจุดเริ่มต้นการใช้ชีวิตอย่างไร ที่จะทำให้เรียนอย่างมีความสุข อยู่กับสภาพแวดล้อมใหม่ อย่างไรให้ได้ ยิ่งนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาตอนปลายที่กำลังก้าวเข้าสู่รั้วอุดมศึกษานับเป็นช่วงเวลาแห่งหัวเลี้ยวหัวต่อของชีวิตช่วงหนึ่งเลยทีเดียวถือเป็นโอกาสพิเศษที่ JCTeam@yrservice ได้รับโอกาสสัมภาษณ์พิเศษ รศ.พรทิพย์ สัมปัตตะวนิช คณบดีคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มาให้แนวทางการใช้ชีวิต ณ บ้าน JC หลังนี้ แก่น้องใหม่วารสารฯ 57 ทุกคน
dean57-talk2std

  • เปิดรับข่าวสารและคิดวิเคราะห์เป็น คือแบบฉบับเบื้องต้นของเด็กวารสารฯ

“ความเชื่อที่เราเชื่อว่าเด็กที่จะมาเรียนควรจะเป็นแบบไหน? คำตอบคือ ควรเป็นเด็กที่เปิดรับข่าวสารเยอะ เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ต้องชอบเปิดรับที่จะเรียนรู้ มิฉะนั้นจะไม่สามารถแสวงหาเปิดรับความรู้ต่างๆ เพื่อที่จะมานำเสนอในสื่อได้ นอกจากนี้ต้องกระตือรือร้นเป็น” อ.ต่อ พรทิพย์ กล่าวกับ JCTeam กับคำถามแรกที่ว่าเด็กวารสารควรเป็นแบบไหน?
“ถ้าเป็นความเชื่อพื้นฐาน เมื่อก่อนเด็กต้องเก่งต้องเลิศใช่ไหมคะ แต่อาจารย์มองว่าถ้าเป็นสมัยนี้ ความเก่งของเด็กวารสารฯ ของเรา คือ สามารถนำความรู้มาคิดวิเคราะห์ได้ ดังนั้นเด็กที่เข้ามาต้องเปิดรับเรียนรู้ มีวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลของตนเพื่อนำเสนอเป็น”

  • ต้องมีจินตนาการที่ไม่สิ้นสุด ควบคู่กับพุทธิปัญญา และความคิดสร้างสรรค์

อ.พรทิพย์ ยังกล่าวอีกว่า “นโยบายหลักสำคัญ คือ เด็กต้องมีพุทธิปัญญา สามารถเชื่อมโยงวิเคราะห์เป็นและสังเคราะห์ได้ ซึ่งจะก่อให้เกิดองค์ความรู้หรือปัญญาใหม่ๆ นอกจากนี้ต้องมีจินตนาการ เพราะคนทำงานสื่อไม่มีจินตนาการไม่ได้ ในที่นี่ไม่ได้หมายถึงเพ้อฝัน อาจารย์คิดว่าคนทำงานสื่อต้องมีจินตนาการ มีความฝันได้แต่อย่าเพ้อ ซึ่งความฝันจะทำให้สามารถวางอนาคตล่วงหน้า และวางสิ่งที่เป็นไปได้ ถ้ามีจินตนาการแต่ทำให้มันเกิดไม่ได้ เพราะขาดความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) มันก็เป็นแค่การเพ้อฝัน ฉะนั้นต้องมีความฝันและสามารถใช้พุทธิปัญญาบวกความคิดสร้างสรรค์ ทำให้จินตนาการมันเกิดขึ้น”

  • ควรจะมีควบคู่กันใช่ไหมครับ ระหว่างจินตนาการและความฝัน ?

“ใช่คะ เราเห็นได้จากในวงการทั้งภาพยนตร์และโฆษณาใหม่ๆ ที่จับใจมันเกิดจากความฝันและความคิดสร้างสรรค์บวกกับข้อเท็จจริง เพราะเราเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ในเวลาเดียวกัน นอกจากนี้ที่สำคัญที่สุดต้องมีความรับผิดชอบต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อสังคมให้มากที่สุด ซึ่งทำให้เราสามารถเติมเต็มวงการสื่อสารมวลชนได้ ซึ่งเป็นสิ่ง อาจารย์มองว่าอยากจะปั้นเด็กของเราซึ่งถ้ามี 3 ตัว ก็สามารถเติมเต็มวงการสื่อสารมวลชนได้”

  • วิพากษ์ “เด็ก…ซิล” อย่ามองเป็นความผิดของเด็ก แต่อาจเป็นเพราะวัฒนธรรมของแต่ละมหาวิทยาลัยที่ไม่เหมาะกับตัวเด็ก

สำหรับกรณีเด็ก (ฟอส) ซิลเด็กที่เคยเรียนในชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยอื่นมาแล้วและเข้ามาสมัครสอบใหม่นั้น อ.พรทิพย์ กล่าวถึงประเด็นนี้ว่า “คิดว่าเป็นเด็กที่โตมากกว่าเด็กปี 1 ปกติ โดยทั่วไป เพราะอย่างน้อยพวกเขาเหล่านั้นได้ผ่านชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัยมามากกว่าเด็ก ม.6 โดยทั่วไป แต่โดยส่วนตัวคิดว่าอาจเป็นวัฒนธรรมองค์กรในแต่ละมหาวิทยาลัยที่ต่างกัน ต้องยอมรับจริงๆ ว่ามหาวิทยาลัยในประเทศไทยมีวัฒนธรรมองค์กรที่ต่างกัน และตัวเด็กอาจรู้ตัวว่าตัวเองไม่เหมาะกับที่นั่น ส่วนตัวคิดว่า “เด็กซิล”เป็นเด็กที่เข้าใจตัวเองมากกว่าด้วยซ้ำไปว่าอันนั้นฉันไม่ต้องการ ฉันต้องการอันนี้ แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องยอมรับว่ามีเด็กจากคณะวารสารฯ เรา ซิลไปที่อื่น ซึ่งเขาคิดว่าที่นี่ไม่ใช่ก็ต้องไปที่อื่น”

  • ระบบการเลี้ยงดูสมัยนี้โตแต่ตัว จนขาดความเข้าใจตนเอง

กรณีของ “เด็กซิล” อาจารย์พรทิพย์ ยังกล่าวเพิ่มเติมว่า “ประเด็นเรื่องเด็ก (ฟอส)ซิล มันอาจเป็นสิ่งที่ดีต่อตัวตนของเด็กนะคะ แต่ไม่ดีต่อระบบการศึกษา เพราะจะทำให้คนบางคนในระบบเสียสิทธิ์ไปเพราะการซิลกันไปมา แต่ถามว่าเป็นความผิดของเด็กไหมคิดว่าไม่ใช่ เหมือนกับเราทนอยู่ในที่ที่ไม่อยากอยู่เราก็อยู่ไม่ได้ เพราะระบบการเลี้ยงดูไม่ได้เลี้ยงดูให้เด็กโต เด็ก ม.6 ไม่ใช่เป็นเด็กที่โตและเป็นผู้ใหญ่ บางทีโตแต่ตัวแต่ด้วยวิธีการเลี้ยงก็อาจไม่เข้าใจตัวเอง บางส่วนที่มีความแน่วแน่อยู่แล้วก็อาจกำหนดมุ่งมั่นเลยว่าฉันจะต้องมา ม.ธรรมศาสตร์ เพราะวัฒนธรรมบางอย่างที่เขาคิดว่าเหมาะกับเขา”

  • Freedom of speech คือหลักสำคัญที่เด็กวารสารฯ จะต้องมี

อาจารย์อยากให้เด็กวารสารฯ ของเรานับจากนี้เป็นอย่างไรครับ?
“ก้าวแรกที่เขาเข้ามาเขาต้องได้ลิ้มรสหรือสัมผัสกับ Freedom of Speech (หัวเราะ) อ.คิดว่าเป็นหลักใหญ่เลยนะของการเป็นสื่อมวลชนที่ดี คุณจะต้องมีความรับผิดชอบในคำพูดของตนและต้องไม่ละเมิดผู้อื่น ซึ่งเรื่องนี้อยากให้เขาได้เห็นและสัมผัส เขามีโอกาส และเขามีสิทธิจะพูดเมื่อเขาไม่เห็นด้วย”
ก่อนจากกัน อาจารย์พรทิพย์ ยังกล่าวทิ้งท้ายถึงประเด็นเรื่อง Freedom of speech ว่า “ในความคิดของ อาจารย์สิ่งสำคัญที่สุดของคนที่จะทำ Media คือ คุณต้องมีเหตุผลเหนืออารมณ์ ส่วนตัวไม่ชอบระบบว้ากเกอร์ (หัวเราะ) คือ หลักความจริง อาจารย์มองว่าไม่มีใครมีอำนาจเหนือใครแม้แต่คณบดี ก็ไม่มีอำนาจเหนือคนอื่น เราอยู่กันด้วยความมีเหตุและผลตามกฎเกณฑ์ของประชาคม เมื่อได้พูดคุยกันด้วยเหตุผลแล้วมันจะดำเนินไปในทิศทางความเจริญรุ่งเรืองขององค์กร สื่อต้องไม่ละเมิดผู้อื่น ขณะเดียวกันคุณก็ต้องมี Freedom of Speech รับผิดชอบคำพูดของคุณ สิ่งเหล่านี้คือสิ่งที่คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน จะผลิตบัณฑิตออกไปในอนาคตค่ะ”

รับฟังความคิดของ อาจารย์ ต่อ พรทิพย์ แล้ว อยากทราบจริงๆ เพื่อนใหม่คิดอย่างไรบ้าง? เราคงจะพอเห็นภาพการเป็นชาววารสารฯ รุ่นใหม่นับจากนี้ JCTeam@yrservice จะเฝ้าติดตามเพื่อนใหม่ JC 57 ในอีก 4 ปีข้างหน้าต่อไป…

สิทธิเดช / สัมภาษณ์

Written by Anchulee.Vis in: Interview |
Jun
24
2014
0

กานตชาติ เรืองรัตนอัมพร : จากรากสู่ผล เมื่อภาพเล่าเรื่องชีวิตเชื่อมโยงชุมชน

1,145 views

เมื่อภาพถ่ายไม่ได้เป็นเพียงการบันทึกเรื่องราว แต่ยังเชื่อมโยงสังคมชุมชนจากรุ่นสู่รุ่น…ฟังและอ่านความคิด อ.สอง กานตชาติ ต่อสภาพสังคมที่ทุนกำลังห้อมล้อมชุมชนในภารกิจอบรมการถ่ายภาพ “จากรากสู่ผล” ร.ร.เทศบาลเมืองท่าโขลง

Karntachart.R

จากรากสู่ผล เมื่อภาพเล่าเรื่องชีวิตเชื่อมโยงชุมชน

“คือผมคิดว่าสถานการณ์โดยรอบของชุมชนแถบรังสิตกำลังเปลี่ยนไป คนที่เป็นแหล่งความรู้ภายในชุมชนก็ไม่ได้มีการเชื่อมโยงเหมือนแต่ก่อน ซึ่งเป็นอะไรที่น่าเสียดายมาก ยกตัวอย่างที่ประเทศอังกฤษถึงกับมีการรวบรวมภาพถ่าย สามารถสืบค้นรูป แล้วมองย้อนกลับไปในอดีตได้ว่าสถานที่ตรงนี้ อาคารตรงนี้เป็นอย่าง ซึ่งตรงข้ามกับบ้านเราที่ไม่มีการจัดเก็บ” เสียงของอาจารย์หนุ่มคนหนึ่งแห่งคณะวารสารฯ บอกกับ JCTeam@yrservice บนรถตู้หลังเสร็จสิ้นงานอบรมถ่ายภาพแก่นักเรียนโรงเรียนเทศบาลเมืองท่าโขลง ย่านคลองสอง จ.ปทุมธานี
หากประติดประต่อเรื่องราวการอบรมถ่ายภาพก็เดาได้ไม่ยากว่าอาจารย์หนุ่มคนนี้คือใคร คำตอบ คืออาจารย์กานตชาติ เรืองรัตนอัมพร หรืออาจารย์สอง แห่งสาขาภาพยนตร์และภาพถ่ายสัมภาษณ์ครั้งนี้จึงได้เห็นมุมมองที่อาจารย์สอนถ่ายภาพกำลังห่วงใยสังคมและประสบการณ์ของการทำหน้าที่อาชีพช่างภาพในหลายมุมมอง

“ที่มาที่ไปของโครงการจากรากสู่ผล สารคดีภาพถ่ายเชื่อมสัมพันธ์ชุมชน เริ่มจากตอนนี้ในพื้นที่โดยรอบ ม.ธรรมศาสตร์ รังสิต กำลังเปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะในชุมชนทุกที่ บุคคลที่เป็นแหล่งความรู้ในชุมชนตอนนี้ไม่มีการเชื่อมโยงเหมือนก่อน เดี๋ยวนี้เริ่มห่างเหินกันออกไป อาจเป็นเพราะต้องย้ายบ้านบ้างหรือมีสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งเป็นอะไรที่น่าเสียดายมาก ก็เลยคิดโครงการที่สามารถใช้สื่อมาบันทึกเก็บเป็น Hard Copy ซึ่งมันจะเป็นประโยชน์มากในอนาคต สามารถเก็บเป็นหลักฐาน เป็นบันทึกเหมือนที่ต่างประเทศมีรูปถ่ายที่มีพื้นที่ที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น ที่เมืองเบอร์นิ่งแฮมประเทศอังกฤษ ตอนที่ผมไปศึกษาต่อ ถ้าบอกว่าย่านนี้ ในปีนี้ เขาสามารถสืบค้นรูป สามารถหาบุคคลอ้างอิงย้อนกลับไปได้”
อ.สอง ยังบอกอีกว่า “ที่เลือกทำกิจกรรมนี้กับเด็กเพราะช่องว่างระหว่างเด็กและผู้ใหญ่ในชุมชนตอนนี้เยอะมาก หากคนรุ่นใหม่ถ้าไม่เก็บอะไรไว้จากคนรุ่นเก่ามันก็ไม่เหลือเหมือนกันหากเด็กไม่ออกไปพบปะสังคมในชุมชน ลงพื้นที่ มันก็ไม่มีประโยชน์ เราเลยผลักดันให้เด็กควรเก็บข้อมูล และทำบันทึก เพื่อที่จะได้เรียนรู้เรื่องราวในชุมชน รู้จักคน และรู้จักทักษะชีวิตด้วย ซึ่งอย่างน้อยเป็นประโยชน์ต่อตัวเด็กเอง เพราะเมื่อเติบโตไปตัวเด็กเองยังจะต้องเจอคนอีกเยอะที่ไม่รู้จักในสังคม”

(Read More…)

Written by Anchulee.Vis in: Interview |

Faculty of Journalism and Mass Communication, Thammasat University | email: jc.thammasat@gmail.com
StartCounter@15052010

  • Twitter
  • Facebook
  • YouTube