Feb
27
2014
0

จินต์เจษฎ์ จันทร์เพ็ญ : “ทีวีดิจิทัล ใครได้ใครเสีย”

1,312 views

JinJate-MCA16

 

ที่มา: https://www.facebook.com/JCTeam.yrservice

วันนี้ JCTeam@yrservice ได้รับโอกาสพิเศษจากคุณจินต์เจษฎ์ จันทร์เพ็ญ ประธานนักศึกษาปริญญาโท MCA รุ่น 16 ในฐานะประธานจัดงานสัมมนา และที่สำคัญหมวกอีกใบของคุณจินต์เจษฎ์ คือโปรแกรมโปรดิวเซอร์ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)จึงถือเป็นโอกาสดีที่ชาวเจซีจะได้ร่วมคลี่ปมข้อสงสัยในเรื่องทีวีดิจิตอล จากผู้มีวิชาชีพด้านโทรทัศน์ตัวจริงในครั้งนี้

คุณจินต์เจษฎ์ เล่าถึงประเด็นทีวีดิจิตอลที่พวกเขาได้จัดสัมมนาว่า “ผมในฐานะนักศึกษาสื่อสารมวลชน ปฏิเสธไม่ได้จะต้องรับมือกับความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของประเทศไทย ด้านเทคโนโลยีการสื่อสาร ก็คือทีวีดิจิตอล เราเห็นความสำคัญของทีวีดิจิตอลเพราะอีกไม่นานมันจะเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตคนไทยทุกคน ดังนั้นเราต้องรู้จักศึกษาข้อมูลของทีวีดิจิตอลอย่างลึกซึ้งในทุกมิติ ทั้งผลดีผลเสีย ผลกระทบต่อประชาชนในทุกสาขาอาชีพ เมื่อได้รับโจทย์ให้จัดงานสัมมนา เราจึงคิดว่าเรื่องทีวีดิจิตอล เหมาะสมที่สุดในช่วงเวลานี้

เมื่อถามถึงทีวีดิจิตอลจะส่งผลอย่างไรต่อสังคมไทย ทั้งในด้านเทคโนโลยี ตลาดแรงงานด้านสื่อสารมวลชน

คุณจินต์เจษฎ์ กล่าวว่า “ในมุมกว้างผมมองว่าผู้ที่จะได้รับผลประโยชน์สูงสุดคือประชาชนทั่วไป ที่จะมีช่องทางการนำเสนอรายการมากขึ้น คลังความรู้ก็มากขึ้นตามตัว หรือถ้าเจาะจงมาในด้านเศรษฐกิจ ธุรกิจเฉพาะอย่างผู้ผลิตรายการ (Content Provider) , ผู้ประกอบการกล่องรับสัญญานทีวีต่างๆ , ดารา นักแสดง คนทำงานเบื้องหลัง นักศึกษานิเทศศาสตร์ ฯลฯ เหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นโอกาสในการผลิตสร้างสรรค์ผลงานมีพื้นที่มากขึ้นในสังคม”

อย่างไรก็ตามคุณจินต์เจษฎ์ มองว่าผู้ที่รับบทหนักกลายเป็นผู้ลงทุนสถานีว่า
“เงินเป็นพันๆล้านที่ต้องประมูลแย่งชิงเพื่อที่จะได้สัญญานช่องโทรทัศน์มาต้องคิดหนัก ในเมื่อเม็ดเงินในตลาดสปอนเซอร์ยังคงเท่าเดิมคือประมาณ 50,000 กว่าล้านต่อปี ในขณะที่คู่แข่งที่จะมาแบ่งกินเค้กก้อนนี้ถึง 24 ช่อง หน้าที่หนักของผู้บริหาร คือจะช่วงชิงโอกาสเหล่านี้สู่องค์กรของตัวเองได้อย่างไร การจะขึ้นแท่นอันดับ 1 ของทีวีไทย จะทำได้อย่างไร อันนี้คือการทำงานที่เรียกว่าท้าทายความสามารถพอตัวเลยทีเดียว”

(Read More…)

Written by Anchulee.Vis in: Interview |
Feb
19
2014
0

เสียงจากชุมชนสู่คนเมือง…ในวันที่คนในชุมชนไม่ต้องการเขื่อน

790 views

infographic

ที่มา: https://www.facebook.com/JCTeam.yrservice

“เสียงจากชุมชนสู่คนเมือง...ในวันที่คนในชุมชนไม่ต้องการเขื่อน”
วันนี้ทีมพีอาร์เจซีมีโอกาสสัมภาษณ์น้องๆ ชาวเจซี กลุ่มวิชาสิ่งพิมพ์และหนังสือพิมพ์ปี 3 ประกอบด้วยนอร์ด กันยพัชร,อ้อม วรัญญา,พลอย พิชญา ที่ลงพื้นที่ตำบลสะเอียบ อำเภอสอง จังหวัดแพร่ เมื่อวันที่ 1- 8 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ใน “โครงการวารสารศาสตร์ศึกษาชนบท ปีที่ 9” ซึ่งเป็นกิจกรรมหนึ่งในรายวิชาสื่อสิ่งพิมพ์ชุมชน บรรยายโดย ผศ.รุจน์ โกมลบุตร น้องอ้อมได้สะท้อนความรู้สึกจากการได้ลงพื้นที่ในครั้งนี้ว่า “หนูคิดว่าหนูโชคดีที่ได้ลงทะเบียนวิชานี้ ทำให้เราได้เห็นภาพจริงของพื้นที่”

น้องอ้อมกล่าวว่า “การเรียนวิชาสื่อสิ่งพิมพ์ชุมชน มันเริ่มจากการบอกต่อของรุ่นพี่ๆ ที่ให้ความคิดว่าเป็นประสบการณ์ชีวิตที่ได้ทำในสิ่งที่ไม่เคยทำมาก่อน และถือเป็นโอกาสที่ดีที่ได้ลองทำในสิ่งที่ไม่เคยทำสักครั้งในชีวิตได้อยู่ในพื้นที่ที่ห่างไกลทุรดาร ยิ่งบางแห่งแม้แต่สัญญาณโทรศัพท์ก็ยังไม่มี พวกหนูลงพื้นที่ที่ตำบลสะเอียบ อำเภอสอง จังหวัดแพร่ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีการต่อต้านการก่อสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น โดยจุดประสงค์ของการลงพื้นที่ในครั้งนี้คือ การสร้างสื่อรณรงค์การต่อต้านการสร้างเขื่อนโดยเลือกสื่อที่ใช้ประกอบด้วย Infographic,สปอตรณรงค์,และสารคดีสั้น”

“แนวคิดหลักๆ สำหรับการใช้สื่อในแต่ละประเภทที่พวกเราช่วยกันทำ คือ Infographic เป็นการย่อความให้เข้าใจในรายละเอียดของการไม่สร้างเขื่อน มีเหตุผลด้านวิชาการรองรับที่ไม่ได้มีมุมมองจากชาวบ้านด้านเดียว มีกลุ่มเป้าหมายคือวัยรุ่นในเมือง ส่วนสปอตรณรงค์จะสะท้อนผ่านแนวคิด “ใต้เขื่อนมีชีวิต” ที่นำเสนอภาพการอยู่ร่วมกันอย่างพอเพียง และสารคดีสั้นที่เป็นการตีโจทย์จากข้อสงสัยของคนในกรุงเทพฯ โดยให้ชาวบ้านตอบคำถามว่าทำไมถึงไม่อยากให้สร้างเขื่อน” น้องพลอยกล่าว

ในมุมมองกรณีการสร้างเขื่อนที่กำลังกลายเป็นประเด็นในช่วงที่ผ่านมาทั้งเขื่อนแม่วงก์ และเขื่อนแก่งเสือเต้นที่กำลังถูกกลายร่างเป็นเขื่อนยมบน และเขื่อนยมล่าง 3 สาวเจซี นอร์ด อ้อม และพลอย ต่างมีมุมมองเหมือนกันว่า “การสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ไม่ได้มีประโยชน์แต่ภาครัฐควรบริหารจัดการแหล่งน้ำให้เกิดความคุ้มค่ามากกว่า เห็นได้จากการลงพื้นที่กลุ่มชาวบ้านบริหารจัดการแหล่งน้ำกันเองผ่านการสร้างฝายเก็บน้ำขนาดเล็กที่ให้ผลประโยชน์ที่คุ้มค่ามากกว่า”

พีอาร์เจซีทีมถามว่าการไปลงพื้นที่ครั้งนี้อะไรคือการเรียนรู้ที่น้องๆ ได้บ้าง ทั้ง 3 สาวกล่าวว่า “พวกหนูเห็นถึงสภาพป่าสักทองผืนสุดท้าย เห็นถึงการทำงานของภาคชุมชนที่มีการบริหารจัดการกันเองอย่างมีประสิทธิภาพ ยิ่งภาครัฐรุกคืบมากขึ้นชุมชนยิ่งต้องเข้มแข็ง เกิดแนวคิดในการดูแลป่าและต่อต้านการสร้างเขื่อนอย่างรุนแรง ทั้งการสาบานตนต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในชุมชนเพื่อป้องปรามไม่ให้กระทำผิดต่อทรัพยากรธรรมที่พวกเขาหวงแหน” ฯลฯ

ก่อนจบบทสนทนาทีมพีอาร์เจซีได้มีโอกาสถามแง่คิดในการทำงานด้านสื่อมวลชนในอนาคตก่อนที่ทุกคนจะเดินทางลงพื้นที่ที่จังหวัดเชียงใหม่ต่อในอีกวิชาหนึ่ง สาวพลอยให้คำมั่นว่าทิ้งท้ายว่า “หากหนูได้ทำงานสื่อในอนาคตหนูจะไม่นำเสนออะไรเกินจริง และไม่ใส่ความคิดเห็นของตัวเองลงไปจนเกินเลย”

แม้จะเป็นเพียง 3 สาวนักศึกษาว่าที่นักสื่อสารมวลชนในอนาคต แต่มุมมองแนวคิดด้านสิ่งแวดล้อมก็นับว่าแฝงไปด้วยพลังที่ผู้ใหญ่หลายๆ คน ควรจะฟัง 

สามารถติดตามผลงานการผลิตสื่อ เพื่อชุมชน “สารคดีบ้านเฮา…เฮาก็ฮัก” ฝีมือของนักศึกษาสาขาสิ่งพิมพ์ ได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=xiyxOFsfW2U

และสปอตรณรงค์ “ใต้เขื่อนมีชีวิต” https://www.youtube.com/watch?v=79zV2gGTK24

#

Written by Anchulee.Vis in: Interview |

Faculty of Journalism and Mass Communication, Thammasat University | email: jc.thammasat@gmail.com
StartCounter@15052010

  • Twitter
  • Facebook
  • YouTube