Jun
24
2014
0

กานตชาติ เรืองรัตนอัมพร : จากรากสู่ผล เมื่อภาพเล่าเรื่องชีวิตเชื่อมโยงชุมชน

1,145 views

เมื่อภาพถ่ายไม่ได้เป็นเพียงการบันทึกเรื่องราว แต่ยังเชื่อมโยงสังคมชุมชนจากรุ่นสู่รุ่น…ฟังและอ่านความคิด อ.สอง กานตชาติ ต่อสภาพสังคมที่ทุนกำลังห้อมล้อมชุมชนในภารกิจอบรมการถ่ายภาพ “จากรากสู่ผล” ร.ร.เทศบาลเมืองท่าโขลง

Karntachart.R

จากรากสู่ผล เมื่อภาพเล่าเรื่องชีวิตเชื่อมโยงชุมชน

“คือผมคิดว่าสถานการณ์โดยรอบของชุมชนแถบรังสิตกำลังเปลี่ยนไป คนที่เป็นแหล่งความรู้ภายในชุมชนก็ไม่ได้มีการเชื่อมโยงเหมือนแต่ก่อน ซึ่งเป็นอะไรที่น่าเสียดายมาก ยกตัวอย่างที่ประเทศอังกฤษถึงกับมีการรวบรวมภาพถ่าย สามารถสืบค้นรูป แล้วมองย้อนกลับไปในอดีตได้ว่าสถานที่ตรงนี้ อาคารตรงนี้เป็นอย่าง ซึ่งตรงข้ามกับบ้านเราที่ไม่มีการจัดเก็บ” เสียงของอาจารย์หนุ่มคนหนึ่งแห่งคณะวารสารฯ บอกกับ JCTeam@yrservice บนรถตู้หลังเสร็จสิ้นงานอบรมถ่ายภาพแก่นักเรียนโรงเรียนเทศบาลเมืองท่าโขลง ย่านคลองสอง จ.ปทุมธานี
หากประติดประต่อเรื่องราวการอบรมถ่ายภาพก็เดาได้ไม่ยากว่าอาจารย์หนุ่มคนนี้คือใคร คำตอบ คืออาจารย์กานตชาติ เรืองรัตนอัมพร หรืออาจารย์สอง แห่งสาขาภาพยนตร์และภาพถ่ายสัมภาษณ์ครั้งนี้จึงได้เห็นมุมมองที่อาจารย์สอนถ่ายภาพกำลังห่วงใยสังคมและประสบการณ์ของการทำหน้าที่อาชีพช่างภาพในหลายมุมมอง

“ที่มาที่ไปของโครงการจากรากสู่ผล สารคดีภาพถ่ายเชื่อมสัมพันธ์ชุมชน เริ่มจากตอนนี้ในพื้นที่โดยรอบ ม.ธรรมศาสตร์ รังสิต กำลังเปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะในชุมชนทุกที่ บุคคลที่เป็นแหล่งความรู้ในชุมชนตอนนี้ไม่มีการเชื่อมโยงเหมือนก่อน เดี๋ยวนี้เริ่มห่างเหินกันออกไป อาจเป็นเพราะต้องย้ายบ้านบ้างหรือมีสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งเป็นอะไรที่น่าเสียดายมาก ก็เลยคิดโครงการที่สามารถใช้สื่อมาบันทึกเก็บเป็น Hard Copy ซึ่งมันจะเป็นประโยชน์มากในอนาคต สามารถเก็บเป็นหลักฐาน เป็นบันทึกเหมือนที่ต่างประเทศมีรูปถ่ายที่มีพื้นที่ที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น ที่เมืองเบอร์นิ่งแฮมประเทศอังกฤษ ตอนที่ผมไปศึกษาต่อ ถ้าบอกว่าย่านนี้ ในปีนี้ เขาสามารถสืบค้นรูป สามารถหาบุคคลอ้างอิงย้อนกลับไปได้”
อ.สอง ยังบอกอีกว่า “ที่เลือกทำกิจกรรมนี้กับเด็กเพราะช่องว่างระหว่างเด็กและผู้ใหญ่ในชุมชนตอนนี้เยอะมาก หากคนรุ่นใหม่ถ้าไม่เก็บอะไรไว้จากคนรุ่นเก่ามันก็ไม่เหลือเหมือนกันหากเด็กไม่ออกไปพบปะสังคมในชุมชน ลงพื้นที่ มันก็ไม่มีประโยชน์ เราเลยผลักดันให้เด็กควรเก็บข้อมูล และทำบันทึก เพื่อที่จะได้เรียนรู้เรื่องราวในชุมชน รู้จักคน และรู้จักทักษะชีวิตด้วย ซึ่งอย่างน้อยเป็นประโยชน์ต่อตัวเด็กเอง เพราะเมื่อเติบโตไปตัวเด็กเองยังจะต้องเจอคนอีกเยอะที่ไม่รู้จักในสังคม”

(Read More…)

Written by Anchulee.Vis in: Interview |
Jun
16
2014
0

ฉายภาพให้เห็นเมื่อสังคมต้องรู้เท่าทันสื่อ

1,548 views

สัมผัสมุมมองและประสบการณ์การทำวิจัยรู้เท่าทันสื่อ (Media Literacy)
ต่อน้องๆ นักเรียน และครู-อาจารย์ ในพื้นที่รอบ มธ.ศูนย์รังสิต
ผ่านการเผยแพร่ผลงานบนเวที International Conference on Social Science Management (ICSSM 2014)
ณ กรุงเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น

โดย รศ.กัลยกร วรกุลลัฎฐานีย์ และ อ.ประไพพิศ มุทิตาเจริญ

ในบทสัมภาษณ์พิเศษ “ฉายภาพให้เห็นเมื่อสังคมต้องรู้เท่าทันสื่อ”

kalyakorn-prapaipit

 

ในสังคมปัจจุบันที่อยู่ในยุคของการบริโภคสื่อ ทุกภาคส่วนหลายฝ่ายให้ความสำคัญและเริ่มปลูกฝังให้ทุกคนได้ตระหนักและเข้าใจในเนื้อหาของสื่อได้อย่างไม่ถูกครอบงำ JCTeam@yrservice ได้รับเกียรติสัมภาษณ์จาก รศ.กัลยกร วรกุลลัฎฐานีย์ และ อ.ประไพพิศ มุทิตาเจริญ หลังจากร่วมนำเสนองานวิจัยในเวที International Conference on Social Science Management (ICSSM 2014) ณ กรุงเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น เมื่อช่วงต้นเดือนพฤษภาคม 2557 ที่ผ่านมา

จุดเริ่มต้นและที่มาของงานวิจัย

– บรรยากาศการเผยแพร่งานวิจัยครั้งนี้เป็นอย่างไรบ้างครับ ?
“คืองานที่ไปครั้งนี้จัดภายใต้ชื่อว่า International Conference on Social Science Management (ICSSM 2014) จัดที่กรุงเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น เป็นงานที่ประกอบด้วยหลายๆ ศาสตร์ทางสังคมศาสตร์และการบริหารการจัดการและสายวิทยาศาสตร์ ที่ผ่านมาพี่ไม่เคยเผยแพร่ผลงานในเวทีต่างประเทศจริงๆ จังๆ เลยสนใจและเลือกใช้เวทีนี้ในการเผยแพร่ผลงาน ภาพรวมและบรรยากาศการนำเสนองานวิจัยทำให้เราได้เห็นหลายๆ งานวิจัยของต่างประเทศ ทั้งในด้านการตลาด การศึกษา วัฒนธรรม การบริหาร และการสื่อสาร ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ทำให้เราได้แลกเปลี่ยนได้ทำความรู้จักนักวิชาการจากประเทศต่างๆ”

“จริงๆ แล้วงานวิจัยนี้พี่เริ่มจากการมองเห็นความรุนแรงในกลุ่มเด็กและเยาวชน ทั้งในเรื่องการทะเลาะตบตี การใช้ Social Media ในการล่อลวงเด็กและเยาวชน เป็นต้นค่ะ พี่พบว่าทุกวันนี้เด็กและเยาวชนสามารถเข้าถึงสื่อได้โดยง่ายและรวดเร็ว เราจึงควรจะมีวิธีการอย่างไรที่ทำให้เด็กและเยาวชนได้รู้ถึงการเท่าทันสื่อที่เผยแพร่ออกมาเป็นจำนวนมาก ดังนั้นจึงต้องเริ่มย้อนไปที่ต้นน้ำของเด็ก คือกลุ่มครูผู้สอน ซึ่งเป็นที่มาของงานวิจัยเรื่อง “ความตระหนักและความรู้ของครูผู้สอนเรื่องเท่าทันสื่อของเยาวชนในจังหวัดปทุมธานี”

ครูผู้สอน คือแบบอย่างสำคัญของการเท่าทันสื่อ

– ทำไมถึงเลือกทำงานวิจัยเรื่องความตระหนักและความรู้ของผู้สอนเรื่องเท่าทันสื่อของเยาวชนในจังหวัดปทุมธานี ครับ?
“ พี่อยากจะบอกว่าจุดเริ่มต้นอีกเรื่องของงานวิจัยคือ เกิดจากปณิธานของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่มีนโยบายบริการชุมชนรอบข้างของ มธ.ศูนย์รังสิต จึงเป็นที่มาของงานวิจัยเท่าทันสื่อซึ่งพี่เลือกใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In – Depth Interview) จากครูผู้สอนใน 10 โรงเรียนที่อยู่ในชุมชนย่านรังสิต ว่ามีความตระหนักและเท่าทันสื่อมากน้อยแค่ไหน พี่พบว่าครูเป็นผู้นำทางความคิดของเด็ก ประเด็นที่พี่อยากรู้ คือพี่อยากรู้ว่าครูผู้สอนมีความตระหนักและมีความรู้เรื่องการรู้เท่าทันสื่อของเยาวชนอย่างไร มีการจัดการเรียนการสอนด้านรู้เท่าทันสื่อมากน้อยแค่ไหน”
(Read More…)

Written by Anchulee.Vis in: Interview |

Faculty of Journalism and Mass Communication, Thammasat University | email: jc.thammasat@gmail.com
StartCounter@15052010

  • Twitter
  • Facebook
  • YouTube