Sep
29
2014
0

รางวัลประกวดอ่านฟังเสียง โครงการธนชาต ริเริ่ม เติมเต็มเอกลักษณ์ไทย

1,983 views

readingaward

คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน ขอแสดงความยินดีแก่
– นางสาวปริศญา คูหามุข นักศึกษาชั้นปีที่ 4 กลุ่มวิชาวิทยุและโทรทัศน์ และ
– นางสาววีรินทร์ วีระวรรณ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 กลุ่มวิชาวิทยุและโทรทัศน์ 
ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 และรางวัลชมเชย (ตามลำดับ) 

จากการประกวดอ่านฟังเสียง ระดับอุดมศึกษา
โครงการธนชาต ริเริ่ม เติมเต็ม เอกลักษณ์ไทย ครั้งที่ 43 ประจำปี 2557
ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

*****

2 นักศึกษาวารสารฯ คว้ารางวัลการประกวดอ่านฟังเสียง ระดับอุดมศึกษา “ธนชาตริเริ่มเติมเต็ม เอกลักษณ์ไทย ครั้งที่ 43”
แม้คนไทยจะใช้ภาษาไทยเป็นสื่อกลางในการติดต่อสื่อสาร แต่ด้วยยุคสมัยที่เปลี่ยนไปวัฒนธรรมจากภายนอกประเทศที่หลั่งไหลเข้ามาสู่ประเทศ ทำให้การแสดงออกทางวัฒนธรรมไทยเปลี่ยนแปลงจนส่งผลกระทบอย่างมากต่อการใช้ภาษาไทย และเป็นโอกาสอันดีที่ 2 นักศึกษาจากคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นางสาวปริศญา คูหามุข นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิทยุและโทรทัศน์ และนางสาววีรินทร์ วีระวรรณ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิทยุและโทรทัศน์ ได้รับรางวัลอันทรงเกียรติจากเวทีการประกวดอ่านฟังเสียง ระดับอุดมศึกษาโครงการธนชาตริเริ่มเติมเต็ม เอกลักษณ์ไทย ครั้งที่ 43 ประจำปี 2557 ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

  • รางวัลที่ได้มาจากการประกวดครั้งนี้ เป็นรางวัลอะไรคะ ?

ปริศญา : “ที่ปอได้รับเป็น รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 และน้องเนสเปรได้เป็นเป็นรางวัลชมเชย หรือรางวัลที่ 5 จากการประกวดอ่านฟังเสียง ระดับอุดมมศึกษา จัดโดยธนาคารธนชาต โครงการธนชาตริเริ่มเติมเต็ม เอกลักษณ์ไทย ครั้งที่ 43 ประจำปี 2557 ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พร้อมโล่เกียรติยศ จากธนาคารธนชาตค่ะ”

  • ในการประกวดครั้งนี้ มีวิธีในการเตรียมตัวและฝึกฝนอย่างไรก่อนที่จะขึ้นเวทีคะ ?

วีรินทร์ : “ไปฝึกอ่านออกเสียงภาษาไทยให้ชัด ตั้งแต่ ร ล คำควบกล้ำ คำที่มักอ่านผิด คำอ่านยาก กับอาจารย์ที่ปรึกษาค่ะ มีการค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเองเพิ่มเติมจากหนังสือ สื่อต่างๆ ดูคลิปที่สอนวิธีการอ่านที่เหมาะสม รวมทั้งไปฟังเสียงของผู้ประกาศตามคลื่นวิทยุและโทรทัศน์เพิ่มเติม นั่งสมาธิและหัดอ่านออกเสียงให้คนที่ไม่รู้จักฟังเพื่อลดความตื่นเต้น ไม่ตื่นเวทีด้วยค่ะ”

  • อาจารย์ที่ปรึกษา ให้คำแนะนำอย่างไรบ้างคะ ?

ปริศญา : “อาจารย์กุลนารี เสือโรจน์ ช่วยเยอะมากค่ะ รวมทั้งอาจารย์ในคณะหลายท่านก็ได้ให้คำแนะนำเวลาเราไปอ่านให้อาจารย์ฟัง แต่กับอาจารย์บ๊วยที่เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาก็จะนัดกันเกือบทุกอาทิตย์ อาทิตย์ละครั้งสองครั้งอยู่ประมาณเกือบสามเดือนค่ะ เราจะหาบทแปลกๆใหม่ไปอ่าน ต่อบทกัน”

  • คิดว่าสิ่งที่เป็นประโยชน์ที่ได้รับจากการแข่งขันในครั้งนี้คืออะไร ?

ปริศญา : “การที่จะได้เป็นผู้ประกาศข่าวมืออาชีพ รางวัลเป็นเครื่องช่วยการันตีความสามารถของเราได้ เพราะกรรมการก็เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการคัดเลือกผู้ประกาศอยู่แล้ว อีกทั้งยังมีผู้ประกาศเก่งๆหลายคนเคยผ่านเวทีนี้ สำหรับปอ การแข่งคือการวัดผลตัวเองด้วย ไม่ว่าจะแข่งอะไรเวลาซ้อมคือการลับมีด เวลาแข่งคือการประเมินผลว่าเราสู้คนอื่นได้หรือไม่ สังคมชีวิตทำงานจริง ยิ่งแข่งขันมากกว่านี้อีกค่ะ ตอนนี้เราก็โชคดีที่มีประสบการณ์แบบนี้”
วีรินทร์ : “ได้ทั้งความภูมิใจว่า เราทำได้แล้ว ได้เห็นถึงความพยายามของตัวเอง ได้เห็นสังคมนอกมหาลัยว่าการแข่งขันสูงมาก ทุกคนต่างก็ต้องเตรียมตัวแล้วก็ทำตัวเองให้ดีที่สุด ได้รู้จักคนอื่นมากขึ้น ทั้งพี่ปอที่ไปแข่งด้วย กล้าคุยกับอาจารย์มากขึ้นแล้วก็เพื่อนต่างสถาบันด้วยค่ะ”

  • สามารถนำมาปรับใช้ในการเรียน และการทำงานในอนาคตได้อย่างไร ?

ปริศญา : “ปรับใช้ในวิชาผู้ประกาศขั้นสูงได้เยอะเลยค่ะ ทั้งปอและน้องเนสเปรเรียนเอกวิทยุโทรทัศน์
อยุ่แล้ว อีกอย่างเวลาเราวิเคราะห์ข่าว หรือบท เราก็จะรู้ว่าตรงนี้ควรอ่านอย่าง วรรคอย่างไร ใช้น้ำเสียงอย่างไร นอกจากอ่านข่าวยังมีเรื่องของการพากย์ด้วย ที่ต้องพูดให้ชัดสื่ออารมณ์ให้ถูกต้องตามบท ในชีวิตประจำวัน ก็เรื่องการพุดการใช้ภาษาไทยให้ถูก อนุรักษ์คำไทย เป็นแบบอย่างให้น้องๆได้ อีกอย่างคือได้รู้และเข้าใจหลักการอ่านที่ถูกต้อง จริงๆ เมื่อใช้เป็นอ่านถูก ใครๆก็อยากได้คนมีความสามารถอย่างเราไปทำงานค่ะ อาจไม่ใช่แค่อย่างเรา แต่อย่างใครก็ตามที่ได้รางวัลและพัฒนาศักยภาพของตัวเองเสมอๆ ก็จะอยู่ในวงการเหล่านี้ได้นานเท่านานค่ะ”

## นับเป็นโอกาสอันดี ที่ 2 นักศึกษาวารสารฯ ได้ใช้ทักษะ และประโยชน์จากการเรียนมาเพิ่มพูนและปรับใช้ในเวทีการประกวดก่อนเตรียมความพร้อมสู่โลกแห่งการทำงานจริงต่อไปในอนาคต ##

Sep
23
2014
0

My Job My Way : ชีวิตและงาน ปทุมมาศ เฟื่องการรบ

1,203 views

I did it my way.

(ฉันทำมันทั้งหมด…ในแบบของฉัน…)

ท่อนหนึ่งแห่งบทเพลง MY WAY ที่ร้องโดย Frank Sinatra

อาจใกล้เคียงกับความเป็นตัวตนของสุภาพสตรีคนหนึ่ง ที่หลายๆ คนในคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน ได้พบ ได้สัมผัส และคลุกคลี และเป็นเวลา 35 ปี ทั้งการเริ่มต้นชีวิตการทำงาน เป็นช่วงเวลาของการก่อร่างสร้างตัว และเป็นเดือนสุดท้ายของชีวิตการรับราชการของสุภาพสตรีที่ชื่อ ปทุมมาศ เฟื่องการรบ หรือพี่ตู่ หัวหน้างานเทคโนโลยีและโสตทัศนศึกษา

peetu58

YouTube Preview Image

คณะวารสารฯ กับจุดเริ่มต้นของการเรียน และชีวิตการทำงาน

“สัมภาษณ์แบบไหนดี จะเอารายละเอียดตั้งแต่วัยเด็กเลยไหม?
ถ้าเป็นจุดเริ่มต้นเลยนะ พี่เป็นคนชอบอ่านออกเสียง สมัยมัธยมต้น เวลาครูสอนจะชอบอ่านออกเสียงเลยทำให้การอ่านของพี่คล่อง อีกแรงบันดาลใจก็คือ เคยไปที่สนามบินดอนเมือง ได้ยินเสียงผู้ประกาศก็ชอบและอยากทำงานแบบนี้ อันนี้เป็นจุดเริ่มต้น” พี่ตู่ประเดิมคำสัมภาษณ์

  • แล้วการเลือกเรียนคณะวารสารฯ ล่ะครับ?

“คือ จริงๆ แล้วจุดเริ่มต้นที่เข้ามาเรียนคณะวารสารฯเป็นเพราะคณะนี้มีการเรียนการสอนในสิ่งที่เราชอบ นั่นคือการพูด การอ่านประกาศต่างๆ แรกๆ คิดแค่นั้น เพราะโดยส่วนตัวเป็นคนชอบอ่านออกเสียงมาตั้งแต่เรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ครูจะให้เป็นคนบอกงานเพื่อให้เพื่อนๆ จดเป็นประจำ ส่วนอีกแรงบันดาลใจที่ต้องมาเรียนทางด้านนี้ให้ได้ เพราะตอนไปสนามบินเผอิญได้ยินเสียงผู้ประกาศเพื่อเรียกผู้โดยสารขึ้นเครื่อง และแจ้งเรื่องเที่ยวบินต่างๆ พอฟังแล้วรู้สึกว่าเสียงเพราะมากเลยอยากทำแบบนี้บ้าง พอถึงช่วงเวลาสอบเอนทรานซ์เพื่อเข้ามหาวิทยาลัย เมื่อก่อนเขาเรียกกันแบบนี้นะ อยากจะเข้าคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ แต่ก็ยากเกินไป เพราะต้องสอบคณิตศาสตร์ด้วย รู้สึกว่าไม่ถนัดจริงๆ ถ้าสอบพวกภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส พี่ว่าพี่สู้ได้ สอบปีแรกเลือกอันดับสอบผิดพลาดเลยไปติดที่คณะอักษรฯ ม.ศิลปากร ก็เลยลองเรียนไปก่อน พอมาสอบอีกครั้งคราวนี้ไม่พลาด ได้เรียนคณะวารสารฯ สมความตั้งใจ ทั้งๆ ที่ในยุคนั้นไม่ค่อยมีใครสนใจ โชคดีอย่างคือไม่มีพ่อแม่มากดดัน พี่ตัดสินใจเองทุกอย่างด้วยตัวเอง

  •  ขอย้อนนิดนะครับ พื้นเพพี่ตู่ เป็นกรุงเทพฯ ใช่ไหมครับ กับบรรยากาศการเรียนการสอนที่คณะวารสารเป็นอย่างไรบ้างครับ?

“อ๋อ ใช่พี่เรียนกรุงเทพฯ เป็นคนกรุงเทพฯ มาเรียนที่ ร.ร.เขมะสิริอนุสรณ์ และ ร.ร.เตรียมอุดมศึกษา พญาไท ตอนนั้นบรรยากาศการเรียนเมื่อ 40 ปีที่แล้ว ไม่อบอุ่นเหมือนสมัยนี้ที่มีรุ่นพี่คอยดูแลแนะนำในทุกๆ เรื่อง สมัยนั้นต้องลุยด้วยตัวเองว่าจะลงทะเบียนอย่างไร เรียนห้องไหน ต้องพึ่งตัวเองทั้งนั้นเราเรียนแบบรวมๆ กันยังไม่ได้แยกสาขา เรียนทั้งประชาสัมพันธ์ โทรทัศน์ก็เรียน เรียนกับอาจารย์อรทัย ศรีสันติสุข อาจารย์วันชัย ธนะวังน้อย อาจารย์อรนุช เลิศจรรยารักษ์ รศ.เสรี วงษ์มณฑา พอดีเพิ่งกลับจากต่างประเทศใหม่ๆ ตอนปี 1 แล้วก็เคยเรียนกับอาจารย์หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ด้วยนะ”

  •  กับเหตุการณ์ 14 ต.ค.16 และ 6 ต.ค.กลิ่นอายของคณะวารสารฯ ในห้วงเวลานั้นเป็นอย่างไรครับ?

(Read More…)

Written by Anchulee.Vis in: Interview |

Faculty of Journalism and Mass Communication, Thammasat University | email: jc.thammasat@gmail.com
StartCounter@15052010

  • Twitter
  • Facebook
  • YouTube