บทสัมภาษณ์ “อาจารย์วารี ฉัตรอุดมผล” รองคณบดีฝ่ายการนักศึกษา

Posted by: | Posted on: July 23, 2012

บทสัมภาษณ์ถึงมุมมองของอาจารย์วารี ฉัตรอุดมผล อาจารย์สาวแห่งสาขาภาพยนตร์และภาพถ่าย คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หากใครยังไม่คุ้นชื่อ ถ้าบอกว่าเป็นอาจารย์สาวแห่ง “บ้านเจซี” ที่สอนวิชาการถ่ายภาพขั้นสูง การถ่ายภาพเพื่อโฆษณามาก่อน นักศึกษาคนไหนที่เคยเข้าไปนั่งฟังเลคเชอร์ศิลปะกับภาพถ่ายเชิงวารสารศาสตร์มาแล้ว คงร้องอ๋อกันเลยทีเดียว ส่วนน้องๆ เฟรชชี่มาใหม่ไฟแรงคนไหนที่ยังไม่คุ้น ก็ไม่เป็นไร เรามาทำความรู้จักอาจารย์ท่านนี้พร้อมๆ กันเลยดีกว่า

จากอาจารย์สาวที่มีบุคลิกที่คล่องแคล่ว วันนี้อาจารย์วารีสวมมาดใหม่ (ใจดีกว่าเดิม) ในฐานะอาจารย์ผู้ดารงตาแหน่งเป็นรองคณบดีฝ่ายการนักศึกษา

1. คำว่า Intelligent Imaginative และ Social concerned ในมุมมองของอาจารย์ที่เกี่ยวเนื่องกับคณะวารสารฯ เป็นอย่างไรคะ

เรารู้กันอยู่แล้วว่าเด็กคณะเราไม่ได้เรียนในตำรา เราเรียนจาก outdoor เรียนจากการที่ให้เด็กลงไปปฏิบัติ แล้วก็สิ่งที่ได้ๆ จากการปฏิบัติอยู่แล้ว เป็นความฝันของเด็กอยู่แล้วล่ะที่มาเรียนในสาขานี้ ซึ่งไม่ใช่เด็กที่ชอบทำงานในตำราหรือชอบในเรื่องของตัวเลขอะไรพวกนี้ แต่ชอบ activity

เพราะฉะนั้นคำว่า Intelligent ในที่นี้ คงไม่ได้หมายถึงเรื่องของตำรา แต่เรา Intelligent ในแง่ที่ว่าเราปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์ได้ เราก็ใส่ใจในเรื่องของสิ่งที่เป็นไปตามสภาพแวดล้อมต่างๆ ในบริบทของสังคมที่มันเปลี่ยนไปเรื่อยๆ คือความเป็นนักสื่อสารมวลชนในปัจจุบันที่เราคงรู้กันอยู่แล้วว่าคนในปัจจุบันอยู่กับเทคโนโลยี เพราะฉะนั้นเทคโนโลยีมันวิ่ง คนในองค์การสื่อสารมวลชนก็คงต้องวิ่งด้วย แต่ว่าวิ่งในที่นี้คุณต้องมี Social concerned ในใจขณะที่วิ่ง เพราะว่าถ้าเรามัวแต่วิ่งตามเทคโนโลยีไปเรื่อยๆ ปุ๊บ เราก็จะได้เพียงผู้ตาม โดยไม่มีจริยธรรมอยู่ในใจ สังคมก็คงจะแย่มาก

ซึ่งบางครั้งเราอาจจะลืมคิดไปว่าจริงๆ แล้วเรามีผลกระทบอย่างมากเลยกับวงการสื่อสารมวลแล้วก็กับสังคม เพราะว่าสังคมสมัยนี้เป็นสังคมที่เชื่อสื่อ เชื่อจนไร้สาระในบางครั้ง จึงจำเป็นที่จะต้องมี Social concerned ไว้ในใจของนักสื่อสารมวลชนทุกคนด้วย

เมื่อเราวิ่งอย่าง Intelligent เราวิ่งอย่าง Social concerned ขณะเดียวกันเราวิ่งอย่าง Imaginative ด้วย ในมุมมองของอาจารย์ การที่เราทำกิจกรรมต่างๆ ถ้าเราไม่ใช้จินตนาการในการสื่อสารจะเป็นอะไรที่แห้งตายเกินไปนิดนึงแล้ว เหมือนกับว่ายุคสมัยในปัจจุบันมันเปลี่ยนและเราก็ต่างผ่านอะไรที่คนอื่นเขาทำมากันแล้วทั้งนั้น ทำให้นักสื่อสารมวลชนยุคนี้อาจจะเหนื่อยนิดนึงที่ต้องมีอาหารสมองเยอะ ต้องมี Imaginative เยอะ ต้องคิดและต้องสร้างสรรค์อยู่ตลอดเวลา แม้ว่าจะเหนื่อยแต่เป็นอะไรที่ทำให้งานสื่อสารมวลชนสนุกขึ้น

ในแง่ของการเป็นอาจารย์ก็อาจจะคล้ายๆ กันนะ เพราะว่าคือในงานภาพถ่ายก็เกี่ยวข้องกับงานศิลปะอยู่แล้วงานภาพถ่ายเป็นงานที่อาศัยศิลปะ อาศัยจินตนาการ อาศัย Imagination เยอะมาก แต่ว่าภาพถ่ายในลักษณะของงานสื่อสารมวลชนที่อาจารย์สอนอยู่เป็นภาพถ่ายที่เราใช้การสื่อสารเข้ามาเกี่ยวข้อง คือเราไม่ได้ถ่ายภาพที่เป็นไฟน์อาร์ตสื่อสารในแง่ที่ว่าผู้ส่งสารเข้าใจอยู่เพียงคนเดียว แต่เราต้องการในลักษณะของ Mass นิดนึง

คือต้องการให้คนรับรู้และบอกเล่าเรื่องราวให้คนจานวนมากรู้ได้อย่างดี เพราะฉะนั้น Imaginative อันนี้อาจเป็นภาพถ่ายที่ไม่ต้องคำนึงถึงความสวยงามเพียงแค่นั้น แต่ว่าคำนึงการสื่อสารเรื่องราวด้วย และนี่คงเป็นแก่นหลักของเทรนด์การถ่ายภาพในงานสื่อสารมวลชนในปัจจุบัน คือแต่ก่อนคนจะมองว่าภาพถ่ายต้องสวย องค์ประกอบดี แสงสวยเพียงเท่านี้ แต่ในสมัยปัจจุบันมันเปลี่ยนไป คนในปัจจุบันเริ่มมอง เริ่มเปิดกว้างมากยิ่งขึ้นในการที่จะให้ภาพถ่าย เน้นในเรื่องของสาระแล้วก็เรื่องราวมากกว่าที่จะคำนึงถึงเรื่องของศิลปะเพียงอย่างเดียวที่ไม่ได้แฝงแง่คิดอะไรไว้

2. Intelligent ในความหมายของอาจารย์ต่อนักศึกษา

คืออาจารย์ไม่ได้หวังให้นักศึกษาฉลาดมากนะ แต่อยากให้นักศึกษาปรับตัวกับสภาพแวดล้อมได้ คือจบไปแล้วไม่ต้องฉลาดมากแต่อยู่ในสังคมได้และอยู่อย่างมี Social concerned เป็นหลัก คือคนที่จบออกไปเป็นนักสื่อสารมวลชนในปัจจุบันมักจะบอกว่า ฉันอยากเด่น อยากดัง ทำอะไรก็ได้เพื่อให้ตัวเองดัง แต่ว่าสำหรับอาจารย์จะรู้สึกว่าไม่จำเป็น คุณไม่ต้องเด่น ต้องดังก็ได้แค่คุณอยู่รอดได้ในโลกแห่งความเป็นจริงก็พอ

 

3. Social concerned ในกรอบที่อาจารย์อยากให้นักศึกษาเป็นประมาณไหนคะ

concerned แบบที่ใช้ความเป็นนักสื่อสารมวลชน แล้วก็ใช้ความรู้ทางด้านวิชาการทั้งหลาย ทางด้านวิชาชีพทั้งหลายที่เราได้เรียนรู้ในคณะนำไปปรับใช้กับสังคมอย่างถูกต้อง เรานำลักษณะวิชาทั้งหลายที่เราเรียนรู้เอาไปเผยแพร่ หรือเอาไปฝึก หรือเอาไปทำความเข้าใจให้บรรดาคนที่อาจจะรู้น้อยกว่าเราเข้าใจว่าสื่อคืออะไร หรือว่าเท่าทันสื่อมากยิ่งขึ้น

 

4.ในมุมมองของศิลปะกับการเรียนรู้ของนักศึกษา

ต้องเข้าใจคำว่าศิลปะก่อน  คือคำว่าศิลปะในที่นี้มันไม่ใช่ศิลปะในแง่ที่ว่าเรามองภาพแล้วดูสวยงาม ภาพพระอาทิตย์ตกหรือภาพดอกไม้ คืออาจารย์มองในแง่ที่ว่างานศิลปะในที่นี้คือ งานศิลปวัฒนธรรม ประเพณี ทุกสิ่งทุกอย่าง เพราะสิ่งเหล่านี้มันคือตัวตนของเรา และสิ่งเหล่านี้เป็นอะไรที่คนเราชอบลืมที่จะนึกว่าเราเรียนศิลปะ แล้วเราก็ม่าสนใจที่จะเรียนประวัติศาสตร์หรืออะไรก็ตามที่เกี่ยวกับทางด้านมานุษยวิทยา ซึ่งจริงๆ แล้วมันเกี่ยวข้องกับตัวเราทั้งนั้นเลย มันเป็นธรรมชาติของตัวเรารอบๆ ตัว แล้วก็ไม่ได้เรียนรู้ พอไม่ได้เรียนรู้ก็ไม่เกิดความลึกซึ้ง พอไม่ลึกซึ้งก็รู้สึกว่าศิลปะไม่สาคัญ แล้วกลายเป็นว่าศิลปะถูกจัดอันดับเป็นวิชาท้ายๆ ที่ควรเรียน

 

5. ในฐานะนักศึกษาต้องมีศิลปะในการใช้ชีวิตไหมคะ

คิดว่าควรมีไหมล่ะ (ยิ้ม) คือคนที่จะมาทำงานแล้วอยู่กับนักศึกษาได้คือคนที่เปิดกว้าง แล้วก็ฟัง คืออาจารย์ให้อิสระกับนักศึกษาค่อนข้างจะมาก มากที่สุดเท่ากรอบมันมี ในมุมนักศึกษาเองก็ต้องเข้าใจกรอบของอาจารย์ด้วยเช่นกัน ทุกสิ่งทุกอย่างต้องอาศัยการประนีประนอม การเข้าอกเข้าใจกันอย่างมากซึ่งถ้าคนที่มาทำงานตรงนี้แล้วไม่เปิดใจให้กว้างและรับฟังให้เยอะ มันจะเป็นสิ่งที่แย่มากเลยมันจะไม่มีการขับเคลื่อนเกิดขึ้น ซึ่งอันนี้เป็นสิ่งที่อยากให้นักศึกษาเข้าใจด้วยว่าคณะหรืออาจารย์หรือแม้แต่ใครต่อใครก็ตามหวังดี เพียงแต่ว่ามันก็มีกรอบอะไรบางอย่างที่เราจะต้องเดินในกรอบนั้น ในฐานะที่เราอยู่ในสังคม สังคมมีกฎระเบียบอยู่

 

6.  อาจารย์คาดหวัง หรืออยากให้รูปลักษณ์ใหม่ของวารสารในเชิงวิสัยทัศน์เกี่ยวกับ  Intelligent Imaginative และ Social concerned  มันเปลี่ยนหรือคาดหวังอะไรในอนาคต

อาจารย์อยากเห็นนักศึกษาทำผลงานที่มีความคิดสร้างสรรค์ คือมีไอเดีย ซึ่งไอเดียในปัจจุบันไม่ได้พูดถึงเรื่องของความสวยความงามเพียงอย่างเดียวแล้ว แต่ไอเดียในปัจจุบันคือความคิดที่ยั่งยืน คือในวงการโฆษณาหรือวงการอะไรต่างๆ ชอบคิดไอเดียแปลกๆใหม่ๆ ของใหม่ของแปลกเขาว่า แต่อาจารย์คิดว่าไอเดียที่มันอยู่ได้นานแล้วก็มีคุณค่ามันจะน่าสนใจมากกว่า

เด็กของเราก็มีความสามารถอยู่แล้ว เกือบจะทุกรุ่นที่สอนๆมาทุกคนจะมี Social concerned คือเด็กในบางมหาวิทยาลัยอาจจะไม่มีเลย อาจารย์คิดว่าเป็นอะไรที่สากลมากอยู่แล้วของธรรมศาสตร์

 

7. Social concerned นี้ อาจารย์คิดว่ามีอิทธิพลหลักมากจากมหาวิทยาลัยด้วยหรือเปล่าคะ ที่กำหนดบางอย่างให้เรารู้สึกว่าเราต้องดูแลกัน

ก็เป็นไปได้ มันอาจจะมาจากหลายสิ่งนะ เพราะว่าเด็กที่จะเลือกมาเรียนธรรมศาสตร์เขาคงเลือกมาแล้วแหละ เขาคงมีสิ่งนี้อยู่ในใจอยู่แล้วถึงเลือกเรียนธรรมศาสตร์ คือมันเหมือนกับว่าเป็นเชิงความคิดในอุดมคตินิดนึง แต่ว่าถึงแม้เด็กที่เข้ามาแล้วไม่ค่อยเรียนหนังสืออะไรก็ตาม แต่ลึกๆ เขาก็ต้องมีส่วนที่ดีบ้าง แล้วพอเข้ามาปุ๊บ คือสังคมมันสิ่งสาคัญอยู่แล้ว สังคมธรรมศาสตร์ก็เป็นสังคมหนึ่งที่หล่อหลอมให้คนเป็นไปในลักษณะนั้นอยู่แล้ว

อีกอย่างหนึ่งอาจารย์รู้สึกว่าที่เรียนๆ ส่วนใหญ่กรอบเยอะทำให้เด็กไม่มีพื้นที่ในการแสดงออกโดยที่ไม่มีกรอบอยู่เลยทำให้เด็กเราไม่มีความครีเอทีฟ คือบางครั้งเหมือนเราให้โจทย์เด็กในการทำงาน โจทย์มันเยอะตีกรอบเขาจำกัดมากจน เขาคิดว่าอาจารย์ให้กรอบมาตามนี้ต้องเดินตามหนึ่ง สอง สาม ไป เขาก็คิดเองไม่ได้ว่าจะตีกรอบตัวเองยังไงเพราะกรอบมันมาอย่างนั้นอยู่

อาจารย์รู้สึกว่าการให้โจทย์แคบไม่ต่างอะไรกับการป้อนใส่ปาก คือคุณควรหาวิธีว่าคุณจะหยิบช้อนโดยวิธีใด คุณจะตักด้วยมือขวาหรือมือซ้ายด้วยตัวของคุณเอง

ถ้าสมมุติว่าเรียนเหมือนเด็กฝรั่ง หรือเด็กญี่ปุ่นอะไรพวกนี้นะ คือเด็กญี่ปุ่นจะสร้างสรรค์มาก ซึ่งส่วนหนึ่งเพราะการเรียนการสอน ส่วนใหญ่เขาจะบอกว่าเด็กเราไม่ค่อยกล้าแสดงความคิดเห็น ทั้งๆที่จริงๆ เรามีของ เราคิดได้  บางทีเกิดจากการกลัวผิด pattern แต่ใน generation เราไม่สมควรจะอยู่ในกรอบแล้ว เพราะว่าอะไรที่อยู่ในกรอบมันทำไปหมดแล้ว

 

8. อาจารย์คิดว่าการเรียนการสอนควรจะปรับเปลี่ยนอะไรอย่างไรที่ทำให้เด็กมีพื้นที่นอกกรอบมากยิ่งขึ้น

คือจริงๆ อาจารย์ก็เห็นว่าหลายวิชาเขาก็พยายามที่จะทำ ณ ตอนนี้อาจจะต้องปรับการเรียนการสอนนิดนึงให้นักเรียนเป็นกลุ่มกลางของความคิด คือรับฟังเขามากขึ้น หลายๆ ครั้งคนที่เป็นอาจารย์ก็อาจจะลืมคิดว่านักศึกษาอาจจะมีคอมเม้นท์อะไรดีๆ ก็ได้ ไม่ได้บอกว่าวิชาอาจารย์ไม่ดี อาจารย์หลายๆ คนก็ใช้วิธีการนี้เหมือนกัน ซึ่งอาจารย์คิดว่ามันก็ได้ผล ใช้วิธีการแบบว่า student center ในการทำงาน และที่สาคัญอีกอย่างคือเน้นในเรื่องของการ debate ให้มากขึ้นเพราะส่วนใหญ่เราจะให้เด็กเข้ามาแล้วก็นั่งฟังเราพูดอะไรประมาณนี้ มองในมุมอาจารย์นะเวลาที่เราโยนประเด็นไปให้พูดนักศึกษาไม่ยอมพูด เป็นธรรมชาติ ของเด็กไทยส่วนใหญ่ และทั้งหมดนี้คือสิ่งที่ได้ สมมุติว่าเราถกเถียงกันๆใน คลาสสรุปแล้ว “อ้อ ฉันรู้แล้วว่า project นี้ต้องทำยังไง อันนี้ไม่ดีตกไป อันนี้ดีเอาขึ้น” มันก็จะได้เป็นรูปธรรมขึ้นมาจากความคิดของทุกคนในคลาส

 

9. อาจารย์คิดว่ามีวิธีการยังไงคะให้เด็กแบบกล้าตอบคำถาม หรือกล้าที่จะถกเถียงกันกันในกระบวนการเรียน

ที่อาจารย์พยายามอยู่ตอนนี้นะก็คือทำให้เขาเห็นความสาคัญของสิ่งที่เขาตอบ ชื่นชมในสิ่งที่เขาตอบไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่ไม่ดีหรือดี คือถ้าเป็นในต่างประเทศมันไม่ต้องมานั่งยิง ไม่ต้องมานั่งจิ้ม ทุกคนจะพูดขึ้นมาเอง บางทีท้วงอาจารย์ด้วยซ้า อาจารย์ไม่ใช่อันนี้ผิด อะไรอย่างนี้ ไอเดียอาจารย์ผิด ซึ่งอาจารย์เขาก็ยอมรับนะ คือมันอะไรที่เรายุติธรรมมากอะไรอย่างนี้ อันนี้ล่ะมั้งที่ทำให้เด็กเราเป็นแบบมีความนอบน้อมถ่อมตน ไม่มีความก้าวร้าวแล้วก็ไม่กล้าแสดงความคิดเห็น

 

10. มันมีทั้งข้อดีข้อเสียนะคะ

ใช่ อย่างฝรั่งเราจะมีความรู้สึกว่าก้าวร้าวจังอะไรอย่างนี้ ด่าว่ากัน แต่ความจริงคือที่ดีของฝรั่งคือด่ากันแล้วจบ เข้าใจว่าอันนั้นคือเรื่องราวที่เกิดขึ้นในการทำงานหลังจากนั้นคือเป็นเรื่องของอื่นๆ นอกห้องก็ไม่เอามาเกี่ยว นอกห้องก็จับมือกัน อย่ากลัวที่จะใช้จินตนาการอย่ากลัวที่จะแสดงความคิดเห็น เวทีในมหาวิทยาลัยคือเวทีที่ปลอดภัยที่สุดแล้วในการแสดงความคิดเห็นและสร้างสรรค์อะไรสักอย่างขึ้นมา คือเมื่อออกไปเจอโลกภายนอกมันคือเวทีของโลกแห่งความเป็นจริง เพราะฉะนั้นเวลานี้เป็นเวลาที่คุณไม่ต้องกลัวเลยว่าคุณจะโง่ คงไม่มีใครคิดว่าคุณโง่หรอก อาจารย์ทุกคนคิดว่าคุณคือนักศึกษา คุณคือวัยศึกษา อย่ากลัวที่จะถามคำถาม เด็กชอบกลัวไม่กล้าถามกลัวดูโง่ ไม่เป็นไรเพราะเพื่อนอาจจะไม่รู้เหมือนกันก็ได้ใครจะรู้ใช่ไหม  (ยิ้ม) คนที่ตอบคำถามก่อนต่อไปอาจจะเป็นผู้นำก็ได้ใครจะไปรู้  คุณต้องกล้าหาญ

 

 

Comments

comments





  • Facebook
  • Twitter
  • YouTube