การทำผลงานเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งชำนาญการ ชำนาญการพิเศษ และเชี่ยวชาญ มธ.

Posted by: | Posted on: October 21, 2014

 

 

หลักเกณฑ์ วิธีประเมิน : การทำผลงานเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งชำนาญการ ชำนาญการพิเศษ และเชี่ยวชาญ

ณ ห้องประชุมปรีดีพนมยงค์ ชั้น ๓ อาคาร โดมบริหาร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต
วันอังคารที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๗ เวลา ๘.๔๐ – ๑๖.๓๐ น.

 


คู่มือการใช้งาน JCKM Weblog

Posted by: | Posted on: September 2, 2014


สัมมนา “สถานการณ์สื่อมวลชนในเอเชีย”

Posted by: | Posted on: April 3, 2014

26 มีนาคม 2557 –  รองศาสตราจารย์พรทิพย์ สัมปัตตะวนิช คณบดีคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน นำบุคลากรร่วมโครงการสัมมนา ประจำปีงบประมาณ 2557 เรื่อง “สถานการณ์สื่อมวลชนในเอเชีย” ณ ห้องประชุมเกษม ศิริสัมพันธ์ เพื่อพัฒนาความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสถานการณ์สื่อมวลชนในเอเชียและผลกระทบที่มีต่อสื่อมวลชน รวมทั้งแนวทางในการเตรียมความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงสื่อมวลชนในเอเชีย ให้กับบุคลากรคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน ทั้งได้รับเกียรติจาก อาจารย์ ดร.ศิริวรรณ วรชัยยุทธ อาจารย์ประจำคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมเสวนาให้ความรู้ในครั้งนี้ 

นอกจากนี้ ทั้งผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ของคณะวารสารศาสตร์ฯ ยังได้เดินทางไปศึกษาดูงาน ณ มหาวิทยาลัยหูหนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน ระหว่างวันที่ 30 มีนาคม ถึง 3 เมษายน 2557 ด้วย


อบรม “การเขียนหนังสือราชการและรายงานการประชุม”

Posted by: | Posted on: September 4, 2012

คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปัทมา สุวรรณภักดี รองคณบดีฝ่ายบริหาร จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การเขียนหนังสือราชการและรายงานการประชุม” ระหว่างวันที่ ๓๑ สิงหาคม – ๓ กันยายน ๒๕๕๕ ณ Koh Tao Regal Resort จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์วัลลภา  วิทยารักษ์ และ รองศาสตราจารย์ลักษณา โตวิวัฒน์ อาจารย์ประจำคณะศิลปศาสตร์ เป็นวิทยากรบรรยายความรู้ นอกจากนี้ หลังจากสิ้นสุดการอบรมทางวิชาการแล้ว ยังได้จัดกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ดำน้ำดูปะการัง เพื่อให้บุคลากรได้ผ่อนคลายและเติมพลังงานอย่างเต็มที่ก่อนกลับมาปฏิบัติราชการตามปกติต่อไป


บทสัมภาษณ์ “อาจารย์วารี ฉัตรอุดมผล” รองคณบดีฝ่ายการนักศึกษา

Posted by: | Posted on: July 23, 2012

บทสัมภาษณ์ถึงมุมมองของอาจารย์วารี ฉัตรอุดมผล อาจารย์สาวแห่งสาขาภาพยนตร์และภาพถ่าย คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หากใครยังไม่คุ้นชื่อ ถ้าบอกว่าเป็นอาจารย์สาวแห่ง “บ้านเจซี” ที่สอนวิชาการถ่ายภาพขั้นสูง การถ่ายภาพเพื่อโฆษณามาก่อน นักศึกษาคนไหนที่เคยเข้าไปนั่งฟังเลคเชอร์ศิลปะกับภาพถ่ายเชิงวารสารศาสตร์มาแล้ว คงร้องอ๋อกันเลยทีเดียว ส่วนน้องๆ เฟรชชี่มาใหม่ไฟแรงคนไหนที่ยังไม่คุ้น ก็ไม่เป็นไร เรามาทำความรู้จักอาจารย์ท่านนี้พร้อมๆ กันเลยดีกว่า

จากอาจารย์สาวที่มีบุคลิกที่คล่องแคล่ว วันนี้อาจารย์วารีสวมมาดใหม่ (ใจดีกว่าเดิม) ในฐานะอาจารย์ผู้ดารงตาแหน่งเป็นรองคณบดีฝ่ายการนักศึกษา

1. คำว่า Intelligent Imaginative และ Social concerned ในมุมมองของอาจารย์ที่เกี่ยวเนื่องกับคณะวารสารฯ เป็นอย่างไรคะ

เรารู้กันอยู่แล้วว่าเด็กคณะเราไม่ได้เรียนในตำรา เราเรียนจาก outdoor เรียนจากการที่ให้เด็กลงไปปฏิบัติ แล้วก็สิ่งที่ได้ๆ จากการปฏิบัติอยู่แล้ว เป็นความฝันของเด็กอยู่แล้วล่ะที่มาเรียนในสาขานี้ ซึ่งไม่ใช่เด็กที่ชอบทำงานในตำราหรือชอบในเรื่องของตัวเลขอะไรพวกนี้ แต่ชอบ activity

เพราะฉะนั้นคำว่า Intelligent ในที่นี้ คงไม่ได้หมายถึงเรื่องของตำรา แต่เรา Intelligent ในแง่ที่ว่าเราปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์ได้ เราก็ใส่ใจในเรื่องของสิ่งที่เป็นไปตามสภาพแวดล้อมต่างๆ ในบริบทของสังคมที่มันเปลี่ยนไปเรื่อยๆ คือความเป็นนักสื่อสารมวลชนในปัจจุบันที่เราคงรู้กันอยู่แล้วว่าคนในปัจจุบันอยู่กับเทคโนโลยี เพราะฉะนั้นเทคโนโลยีมันวิ่ง คนในองค์การสื่อสารมวลชนก็คงต้องวิ่งด้วย แต่ว่าวิ่งในที่นี้คุณต้องมี Social concerned ในใจขณะที่วิ่ง เพราะว่าถ้าเรามัวแต่วิ่งตามเทคโนโลยีไปเรื่อยๆ ปุ๊บ เราก็จะได้เพียงผู้ตาม โดยไม่มีจริยธรรมอยู่ในใจ สังคมก็คงจะแย่มาก

ซึ่งบางครั้งเราอาจจะลืมคิดไปว่าจริงๆ แล้วเรามีผลกระทบอย่างมากเลยกับวงการสื่อสารมวลแล้วก็กับสังคม เพราะว่าสังคมสมัยนี้เป็นสังคมที่เชื่อสื่อ เชื่อจนไร้สาระในบางครั้ง จึงจำเป็นที่จะต้องมี Social concerned ไว้ในใจของนักสื่อสารมวลชนทุกคนด้วย

เมื่อเราวิ่งอย่าง Intelligent เราวิ่งอย่าง Social concerned ขณะเดียวกันเราวิ่งอย่าง Imaginative ด้วย ในมุมมองของอาจารย์ การที่เราทำกิจกรรมต่างๆ ถ้าเราไม่ใช้จินตนาการในการสื่อสารจะเป็นอะไรที่แห้งตายเกินไปนิดนึงแล้ว เหมือนกับว่ายุคสมัยในปัจจุบันมันเปลี่ยนและเราก็ต่างผ่านอะไรที่คนอื่นเขาทำมากันแล้วทั้งนั้น ทำให้นักสื่อสารมวลชนยุคนี้อาจจะเหนื่อยนิดนึงที่ต้องมีอาหารสมองเยอะ ต้องมี Imaginative เยอะ ต้องคิดและต้องสร้างสรรค์อยู่ตลอดเวลา แม้ว่าจะเหนื่อยแต่เป็นอะไรที่ทำให้งานสื่อสารมวลชนสนุกขึ้น

ในแง่ของการเป็นอาจารย์ก็อาจจะคล้ายๆ กันนะ เพราะว่าคือในงานภาพถ่ายก็เกี่ยวข้องกับงานศิลปะอยู่แล้วงานภาพถ่ายเป็นงานที่อาศัยศิลปะ อาศัยจินตนาการ อาศัย Imagination เยอะมาก แต่ว่าภาพถ่ายในลักษณะของงานสื่อสารมวลชนที่อาจารย์สอนอยู่เป็นภาพถ่ายที่เราใช้การสื่อสารเข้ามาเกี่ยวข้อง คือเราไม่ได้ถ่ายภาพที่เป็นไฟน์อาร์ตสื่อสารในแง่ที่ว่าผู้ส่งสารเข้าใจอยู่เพียงคนเดียว แต่เราต้องการในลักษณะของ Mass นิดนึง

คือต้องการให้คนรับรู้และบอกเล่าเรื่องราวให้คนจานวนมากรู้ได้อย่างดี เพราะฉะนั้น Imaginative อันนี้อาจเป็นภาพถ่ายที่ไม่ต้องคำนึงถึงความสวยงามเพียงแค่นั้น แต่ว่าคำนึงการสื่อสารเรื่องราวด้วย และนี่คงเป็นแก่นหลักของเทรนด์การถ่ายภาพในงานสื่อสารมวลชนในปัจจุบัน คือแต่ก่อนคนจะมองว่าภาพถ่ายต้องสวย องค์ประกอบดี แสงสวยเพียงเท่านี้ แต่ในสมัยปัจจุบันมันเปลี่ยนไป คนในปัจจุบันเริ่มมอง เริ่มเปิดกว้างมากยิ่งขึ้นในการที่จะให้ภาพถ่าย เน้นในเรื่องของสาระแล้วก็เรื่องราวมากกว่าที่จะคำนึงถึงเรื่องของศิลปะเพียงอย่างเดียวที่ไม่ได้แฝงแง่คิดอะไรไว้

Read More …


  • Facebook
  • Twitter
  • YouTube